Blog Master

My photo
Bangkok, Thailand ชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก This present life is so miniscule in scope and so small Lives of all kinds whether humans or animals do not exist only in the present existence, but they also have past and future ones. This short life means that the present existence is a bit brief and so miniscule. Life , of course, is subject to ageing . The present existence of each individual does not exceed one hundred years in terms of the average age. It is a very short period when compared with the past uncountable existences and those in the future. When the sages or learned persons utter that this present life is so unfocused , they are comparing it with past and future uncountable existences . Those people of incomplete understanding can not be delivered from suffering
.......................................................................................................................................BuddhistRhythm .....................................................................................................................................................................................เพลงระฆังธรรม.................. ...................................................................................................................คำร้อง / ทำนอง : พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ........................................................................................ขับร้อง : ชินกร ไกรลาศ .........................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. ปุถุชนที่ร้อนเร่า............................... ก็ยังคงเร่าคงร้อน................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงลอย................ เหมือนไล่ความทรามถ่อย .......................................................ที่คอยผลาญใจคนกร่อน................................................. วัดวาเหงาไป .............เพราะคนห่างไกลเหมือนตัดรอน........................................ เสียงสวดโหยโรยอ่อน..................................... หนุ่มสาวง่วงนอน ไม่อยากฟัง.......................................................... มี..แต่..คนแก่............................ตั้งใจแน่นิ่งสดับ ...................................................ซึ้งพระธรรมสงบระงับ ..........................................ดับเพลิงโลกีย์พ่ายพัง................................................................ สืบกาลต่อไป ...........................คิดแล้วหัวใจช่างเหงาจัง ............................หนุ่มๆสาวๆรุ่นหลัง ..................................จะมีใครฟังพระเทศน์กันเล่า ............................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา .........................สาธุชนเจ้าข้า................ได้ยินระฆังหรือเปล่า......................................................... ระฆังเสียงเย็น .............พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา .....................พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ...................เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ........เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์ ..................... .......

Thai Buddhist

"การทำบุญจะต้องใช้เงินกันมากๆ ยิ่งทำมากยิ่งได้บุญมาก ความเชื่อเช่นนี้นับว่าไกลจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าเป็นห่วง ในการทำบุญที่แท้ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น แม้ไม่ใช้เงินเลย ไม่มีเงินเลย ทุกคนก็มีสิทธิทำบุญหรือเข้าถึงบุญได้อย่างทัดเทียมกันและบุญสูงสุดก็คือบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อให้เกิด ปัญญา การทำบุญจึงต้องมาเชื่อมกับ ปัญญา เสมอ และเราจะเห็นได้จากมรรควิธี ในการทำบุญ ต่อไปนี้

มรรควิธีในการทำบุญ ๑๐

1. ทำบุญด้วยการ "แบ่งปัน" วัตถุ สิ่งของ ปัจจัยสี่

2. ทำบุญด้วยการ "รักษาศีล"

3. ทำบุญด้วยการ "เจริญจิตภาวนา"

4. ทำบุญด้วยการ "อ่อนน้อมถ่อมตน"

5. ทำบุญด้วยการ "เสียสละช่วยงานคนอื่น บริการสังคม"

6. ทำบุญด้วยการ "เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม"

7. ทำบุญด้วยการ "อนุโมทนา ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น"

8. ทำบุญด้วยการ "ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต"

9. ทำบุญด้วยการ "แสดงธรรม แจกจ่ายธรรมทาน วิทยาทาน"

10. ทำบุญด้วยการ "มีสัมมาทัศนะ เชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล"





Saturday, July 30, 2011

Vipassana วิปัสสนาเบื้องต้น

สติปัฏฐาน ๔

มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มี มิจฉาสติ
สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มี สัมมาสติ
มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)

          สติปัฏฐาน ๔ เป็นการปฏิบัติที่พระองค์ท่านตรัสว่าเป็นทางสายเอก(เอกายนมรรค) เมื่อปฏิบัติอย่างดีงามย่อมเป็นเครื่องสนับสนุนให้โพชฌงค์๗องค์แห่งการตรัสรู้บริบูรณ์ ซึ่งยังให้วิชชาและวิมุตติบริบูรณ์ จึงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังที่ตรัสแสดงไว้อย่างแจ่มแจ้งในกุณฑลิยสูตร
          ในการศึกษาการปฏิบัติทั้งหลายไม่ว่าในทางโลกหรือทางธรรมก็ตามที ต่างล้วนต้องเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีปัญญาหรือวิชชาเป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ จึงถูกต้องดีงาม อันจักยังผลให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง ดังนั้นจึงควรมีความเข้าใจด้วยการศึกษาธรรมให้เข้าใจจุดประสงค์อย่างถูกต้องด้วย เพราะเป็นที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่ศึกษาให้ดีงามเสียก่อน เริ่มต้นปฏิบัติก็มักเพราะเป็นทุกข์กำลังรุมเร้า หรือด้วยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ได้ยินได้ฟังมาอยู่เนืองๆ ก็เริ่มปฏิบัติอานาปานสติหรือสติปัฏฐาน ๔ โดยไม่มีความรู้ความเข้าใจเลย ดังนั้นแทนที่เป็นการฝึกสติ,ใช้สติชนิดสัมมาสติ กลับกลายเป็นการฝึกการใช้มิจฉาสติจึงได้มิจฉาสมาธิแบบผิดๆอันให้โทษ จึงเกิดขึ้นและเป็นไปตามพุทธพจน์ตามที่แสดงไว้ข้างต้น ดังเช่นการติดสุข คือสุขในวิปัสสนูปกิเลสอันให้โทษ, จึงอุปมาเหมือนการเรียนเคมี โดยไปปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเสียเลย ด้วยเข้าใจว่าไปเรียนไปศึกษาจากการปฏิบัติโดยตรงคงยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจขึ้นเอง ด้วยเหตุดั่งนี้เอง จึงเกิดอุบัติเหตุการระเบิดขึ้นได้ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง จึงสมควรอย่างยิ่งที่ต้องมีการเรียนรู้ให้เข้าใจจุดประสงค์เป็นพื้นฐานบ้างเสียก่อน จะได้ดำเนินไปอย่างถูกต้องแนวทางสมดังพุทธประสงค์ คือสัมมาสติที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์ อันเป็นสุขยิ่ง
          สติปัฏฐาน ๔ จึงเป็นการฝึกสติใช้สติ สมดังชื่อ ที่ความหมายว่า การมีสติเป็นฐาน, ธรรม(สิ่ง)ที่เป็นที่ตั้งแห่งสติ ซึ่งเมื่อเกิดสัมมาสติขึ้นแล้ว ย่อมยังให้เกิดจิตตั้งมั่นอันคือสัมมาสมาธิร่วมด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ แล้วนำทั้งสัมมาสติและสัมมาสมาธินั้นไปดำเนินการพิจารณาในธรรมคือเจริญวิปัสสนา ในธรรมทั้งหลายดังที่แสดงในธัมมานุปัสสนา หรือธรรมอื่นใดก็ได้ตามจริต สติ ปัญญา มิได้จำกัดแต่เพียงในธรรมานุปัสสนาเท่านั้น อานาปานสติ เป็นการฝึกสติใช้สติ โดยการใช้ลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ ที่หมายถึงเครื่องกำหนด กล่าวคืออยู่ในอารมณ์คือลมหายใจเข้าและออกอย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาเป็นจุดประสงค์สำคัญ แต่กลับนิยมนำไปใช้เป็นอารมณ์ในการวิตกเพื่อการวิจารให้เคล้ากัน เพื่อให้จิตสงบเพื่อการทำฌานสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวเป็นส่วนใหญ่หรือทุกครั้งไปเนื่องด้วยอวิชชาด้วยความไม่รู้และสังขารที่สั่งสมไว้จากการปฏิบัติผิด จึงไม่ได้ใส่ใจในการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดนิพพิทา,ให้เกิดปัญญาเลย โดยปล่อยให้เลื่อนไหลหรือสติขาดไปอยู่แต่ในความสงบสุขสบายอันเกิดแต่ภวังค์ของฌานหรือสมาธิระดับประณีตแต่ฝ่ายเดียวหรือเสมอๆ เพราะฌานสมาธินั้นยังให้เกิดความสุข ความสงบ ความสบายอันเกิดขึ้นจากภวังค์ และการระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕ เป็นระยะเวลาหนึ่ง อันเนื่องจากจิตหยุดการส่งส่ายไปปรุงแต่งอันเนื่องมาจากแน่วแน่อยู่กับอารมณ์จนเป็นสมาธิ, ตลอดจนนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นจากฌานสมาธิล้วนตื่นตาตื่นใจ อย่างเห็นได้ชัดและรวดเร็วเมื่อปฏิบัติได้ผลขึ้น จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)โดยไม่รู้ตัว ในที่สุดความตั้งใจที่ฝึกสัมมาสติอันเป็นมรรคองค์ที่ ๗ จึงกลับกลายเป็นมิจฉาสติไปโดยไม่รู้ตัว จึงได้มิจฉาสมาธิร่วมไปโดยไม่รู้ตัวอีกด้วย หรือนิยมเข้าใจกันทั่วๆไปโดยนัยๆว่า ปฏิบัติสมถสมาธิ หรือปฏิบัติอานาปานสติ หรือปฏิบัติสติติดตามอริยาบถ ก็เพียงพอเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ อันดีงามแล้ว และก็ทำอยู่แต่อย่างนั้นอย่างเดียวนั่นเอง เช่นนั่งแต่สมาธิแต่ขาดการเจริญวิปัสสนา, ดังนั้นการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ จึงควรดำเนินประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาให้เกิดปัญญาหรือความเข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นก็ย่อมดำเนินและเป็นไปดังพุทธดำรัสที่ตรัสแสดงไว้ข้างต้น สติปัฏฐาน ๔ แปลว่า ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ, หรือข้อปฏิบัติที่ใช้สติเป็นประธานหรือหลัก ในการกำหนดระลึกรู้หรือพิจารณาสิ่งทั้งหลาย ให้รู้เห็นตามความเป็นจริงของธรรม(ธรรมชาติ)นั้นๆ โดยไม่ถูกครอบงําด้วยความยินดียินร้าย(ตัณหา)ที่ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงตามอํานาจของกิเลสตัณหา หรือกล่าวได้ว่าสติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมที่ตั้งแห่งสติ จุดประสงค์เพื่อฝึกสติ และใช้สตินั้นพิจารณาและรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต และธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาความคลายกำหนัดความยึดความอยากจากการไปรู้ตามความเป็นจริงของสิ่งนั้นๆ จึงคลายตัณหา จึงเป็นไปเพื่อนําออกและละเสียซึ่งตัณหาแลอุปาทานความยึดมั่นถือมั่นในกิเลสด้วยความพึงพอใจหรือสุขของตัวของตนเป็นสำคัญ ที่มีในสันดานของปุถุชนอันก่อให้เกิดความทุกข์โดยตรงด้วยเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์
          สติปัฏฐาน ๔ ออกเป็น ๔ หมวดใหญ่ด้วยกัน คือ
               ๑. กายานุปัสสนา การมีสติในกายเป็นอารมณ์ คือมีสติกําหนดพิจารณากาย ให้เห็นกายในกาย คือเห็นตามความเป็นจริงของกาย เช่น "เป็นเพียงการประชุมกันของเหตุปัจจัยอันมีธาตุ ๔ ดิน นํ้า ลม ไฟ" (อ่านรายละเอียดในไตรลักษณ์) หรือการเกิดแต่เหตุที่เป็นของสกปรกปฏิกูลโสโครกประกอบหรือเป็นปัจจัยกันขึ้น(ทวัตติงสาการ) หรือการพิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายเพื่อให้เกิดนิพพิทา อันล้วนเป็นไปการระงับหรือดับตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทั้งสิ้น ในขั้นแรกนั้น เป็นการฝึกให้มีสติเสียก่อน โดยฝึกดูลมหายใจที่หายใจเข้า ที่หายใจออก อย่างมีสติ, หรือการมีสติอยู่ในอิริยาบถของกาย(ไม่ใช้การใช้อิริยาบถของกายเป็นอารมณ์จนเกิดสมาธิโดยไม่รู้ตัว) แล้วใช้สตินั้นในการพิจารณากายในแบบต่างๆ ตลอดจนการเกิดดับต่างๆของกาย ฯลฯ. ล้วนเพื่อให้เกิดนิพพิทา เพื่อให้จิตลดละความยินดียินร้ายในกายแห่งตนแลบุคคลอื่นเมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงของกายนั้นว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจหรือหลงใหลในกายแม้ตัวตนของตนหรือบุคคลอื่น เป็นการตัดกำลังตัณหาแลอุปาทานโดยตรงทางหนึ่ง ซึ่งท่านแบ่งเป็น ๖ แบบ
                   ๑.๑ อานาปานสติ ขอเน้นว่าจุดประสงค์อยู่ที่สติ โดยให้จิตคือสติกําหนดตามดูหรือรู้ตามลมหายใจเข้าออกแบบต่างๆ ตลอดจนสติสังเกตุเห็นอาการของลมหายใจ มีจุดประสงค์เพื่อฝึกให้มีสติและเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก เหตุเพราะลมหายใจนั้นก็สามารถใช้เป็นอารมณ์หรือการวิตกในการทำฌานหรือสมาธิได้ด้วย ข้อนี้จึงมักสับสนกันอยู่เนืองๆ จนก่อโทษ จึงทำสติต้องเป็นสติ สมาธิก็เป็นสมาธิ กล่าวคือเมื่อทำสติต้องเป็นสติ จึงเป็นสัมมาสติ เมื่อตั้งใจทำสมาธิแล้วเป็นสมาธิก็เป็นสัมมาสมาธิ แต่บางครั้งคราวในการปฏิบัติอาจมีการเลื่อนไหลเพราะสติขาดเกิดขึ้นบ้างเป็นครั้งเป็นคราว เป็นเรื่องปกติธรรมดาไม่ต้องกังวล เนื่องจากบางครั้งฝึกสติก็จริงอยู่ แต่เกิดอาการขาดสติหรือสติอ่อนลงเป็นครั้งคราวบ้างจึงเลื่อนไหลไปเป็นฌานหรือสมาธิแทน อย่างนี้ไม่เป็นไร (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอานาปานสติในกายคตาสติสูตร), การตั้งกายตรง ก็เพื่อช่วยดำรงสติไว้ ไม่ให้เลื่อนไหลไปง่วงหาวนอนได้ง่ายๆในขณะปฏิบัติ อานาปานสติ นอกจากฝึกสติแล้วสามารถใช้วิปัสสนาได้เช่นกัน โดยการพิจารณาลมหายใจที่หายใจเข้าออกอยู่นั้นๆว่า เป็นกายสังขาร คือถูกกายปรุงแต่งขึ้น พิจารณาความไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ เป็นอนัตตา ดังเช่น ลมหายใจนั้น เป็นไปในลักษณาการ เกิดดับ เกิดดับ....อยู่ตลอดเวลาที่ยังดำรงขันธ์อยู่ เพียงแต่การเกิดดับเป็นไปอย่างต่อเนื่อง.
                    ๑.๒ อิริยาบถ คือกําหนดสติให้ระลึกรู้ในอิริยาบถอาการต่างๆของกาย เช่น เดิน นอน ยืน นั่งฯลฯ. คือมีสติรู้ในอิริยาบทต่างๆนั่นเอง มีจุดประสงค์เช่นเดียวกับอานาปานสติคือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก ไม่ได้มีจุดประสงค์โดยตรงเพื่อใช้เป็นอารมณ์ในการทำสมาธิหรือฌาน (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องอิริยาบถในกายคตาสติสูตร) ดังนั้นอานาปานสติจึงใช้ปฏิบัติเมื่อวิเวก ส่วนอิริยบถอาจใช้โดยทั่วไปได้เนืองๆในการดำรงชีวิตประจำวันเช่นเดียวกับสัมปชัญญะ
                    ๑.๓ สัมปชัญญะ ความรู้ตัวคือปัญญาในการให้มีสติต่อเนื่องในการกระทําหรือการเคลื่อนไหว เช่นเดิน ดื่ม กิน ถ่าย วิ่ง ตื่น หลับ ฯลฯ. กล่าวคือมีสติอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม สติระลึกรู้อย่างต่อเนื่องสลับสับเปลี่ยนอิริยาบทกันได้ ตามที่สติระลึกรู้ตามความเป็นจริง มีสติระลึกรู้ไม่เพ่งจนแน่วแน่เพื่อการเป็นสมาธิระดับสูงหรือประฌีตแต่อย่างใด ใช้แค่ขณิกสมาธิเป็นเบื้องต้นเท่านั้น เพราะต้องการฝึกสติเป็นหลัก ไม่ใช่สมาธิ สมาธิเป็นผลที่เกิดรองลงมาเท่านั้น ซึ่งอาจเลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิในระดับประณีตได้โดยธรรมหรือธรรมชาติอีกด้วย แต่ต้องไม่ใช่เจตนาฝึกสติแล้วไหลเลื่อนเป็นฌานสมาธิเสียทุกครั้งไป ดังเช่น การใช้การจงกรมไปในการเจริญสมาธิเป็นสำคัญก็มี กล่าวคือการใช้ท่าการเดินนั้นเป็นอารมณ์เพื่อเน้นให้เกิดความสงบจากฌานสมาธิเสียเป็นสำคัญแต่อย่างเดียว ไม่ได้สนใจสติหรือปัญญาเลย แล้วไปเข้าใจเอาว่า ความสงบนั้นถูกต้องดีงามแล้ว มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน คือเพื่อละความดำริพล่านคือฟุ้งซ่านเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก (ดังแสดงจุดประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเรื่องสัมปชัญญะในกายคตาสติสูตร) หรือการรู้ตัวทั่วพร้อมในกิจหรืองานที่กระทำนั่นเอง
                    ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เมื่อมีสติในสิ่งดังกล่าวข้างต้น จิตย่อมไม่ดำริพล่านออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน จึงใช้สติที่ฝึกมานั้นอันย่อมประกอบด้วยสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่ในที เนื่องจากการละดำริพล่านลงไปเสีย จึงนำสติและจิตตั้งมั่นนั้นไปใช้พิจารณาส่วนต่างๆของร่างกายว่าล้วนเป็นสิ่งปฏิกูล ไม่สะอาด โสโครก ต้องเข้าใจว่ากายตน(เห็นกายในกายภายใน) และกายของบุคคลอื่น(เห็นกายในกายภายนอก)ต่างก็เป็นเฉกเช่นนี้ ล้วนเป็นไปเพื่อให้เกิดนิพพิทาเพื่อลดละความยึดมั่นพึงพอใจหลงไหลในกายตนและในกายบุคคลอื่นลง เพื่อให้เห็นตามความเป็นจริงว่าล้วนแล้วแต่เป็นของปฏิกูลโสโครก เพื่อคลายความหลงใหลรักใคร่ยึดมั่นมันลงไป จึงคลายกำหนัด ดังมีกล่าวแสดงรายละเอียดไว้ในกายคตาสติสูตร หรือดังภาพที่แสดงในทวัตติงสาการ
                    ๑.๕ ธาตุมนสิการ พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงของกายนี้ว่า เป็นเพียงก้อนหรือมวลหรือฆนะของธาตุทั้ง ๔ อันล้วนไม่งาม ไม่สะอาด มาประชุมกันเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดกายนี้ชั่วขณะระยะหนึ่ง ทั้งกายตนเองและบุคคลอื่นเช่นกัน ดังที่ได้กล่าวไว้ ๒ ลักษณะในการพิจารณาในไตรลักษณ์ และกายคตาสติสูตรโดยละเอียด
                    ๑.๖ นวสีวถิกา คือพิจารณาซากศพในสภาพต่างๆ เป็นระยะๆ ๙ แบบหรือระยะ จนผุพังเน่าเปื่อยไปในที่สุด และต้องเข้าใจว่ากายตนแลผู้อื่นต่างก็ล้วนต้องเป็นเฉกเช่นนี้ ไม่เป็นอื่นไปได้(ภาพอสุภะ) ในทางปฏิบัติของ เห็นกายในกาย คือมีสติระลึกรู้อยู่เนืองๆว่า สักแต่ว่ากายตามที่ได้พิจารณาเข้าใจ เพื่อให้บังเกิดนิพพิทาญาณ จึงดับตัณหา อนึ่งพึงระลึกรู้ด้วยว่า การมีสติอยู่กับกาย เป็นเพียงการระลึกรู้เท่าทันกาย ทั้งทางด้านปัญญาด้วยเช่นว่าไม่งามเป็นปฏิกูลเพื่อความนิพพิทา แต่ถ้าแน่วแน่แต่อย่างเดียวขาดสติการระลึกรู้ก็กลับกลายเป็นสมถสมาธิไปได้โดยไม่รู้ตัว (หมายความว่า มีความตั้งใจฝึกสติ แต่ไปทำสมาธิเสียโดยไม่รู้ตัว) อนึ่งพึงทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้งว่า การมีจิตอยู่กับกายหรือกายานุปัสสนานั้น มิได้มีความหมายไปว่า ส่งจิตไปแช่นิ่งภายในส่วนกายตน ไม่ได้หมายถึงการมีจิตอยู่ในร่างกายภายในหรือภายนอกตน เพราะเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรงกล้า จนเกิดผลร้ายได้ ก่อให้เกิดอาการจิตส่งใน เป็นที่สุด ที่เลิกได้ยากแสนยาก และเป็นโทษในภายหลังอย่างรุนแรงและที่สำคัญคือโดยไม่รู้ตัวอีกเสียด้วย (พระอภิธรรม แสดงความหมายของกายภายใน จึงไม่ใช่ การส่งจิตเข้าไปแช่หรือจับจ้องในกายตน หรือจิตส่งใน และแสดงกายภายนอก)
               ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นเป็นธรรมดาจาการกระทบคือผัสสะ ให้เห็นเวทนาที่เกิดขึ้น แล้วพิจารณาให้เห็นตามความจริงของเวทนาว่า "เวทนาเป็นสักแต่ว่าเป็นการรับรู้ การเสพรสอารมณ์ที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ)ทั้งในทางใจและกายคือใน รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส, ธรรมารมณ์ เป็นขบวนการธรรมชาติหรือสภาวธรรมแท้อันยิ่งใหญ่ที่มีในมนุษย์ทุกผู้นาม เป็นทุกข์โดยธรรมชาติ เป็นเพียงกระบวนการรับรู้ในขั้นแรกๆที่เอาข้อมูลมาจากสัญญา(ความจํา)อดีตหรืออาสวะกิเลส ยังไม่ใช่ความทุกข์จริงๆ พิจารณาให้เห็นว่าเมื่อมีการผัสสะย่อมเกิดเวทนาอันมี สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุข(ไม่สุขไม่ทุกข์)อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดาทุกครั้งทุกทีไป ซึ่งเป็นเวทนาปกติหรือเป็นไปโดยธรรมหรือธรรมชาติ หลีกเลี่ยงหลบหนีไม่ให้เกิดไม่ให้เป็นไม่ได้ เป็นหลักธรรมชาติธรรมดาๆแต่สูงสุด จิตจะได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาหรือการเสพรสอารมณ์ ที่บังเกิดนั้นๆ จึงไม่เกิดตัณหาขึ้น จึงเป็นเพียงสุขเวทนาหรือทุกขเวทนาตามธรรมหรือธรรมชาติแต่ย่อมไม่เร่าร้อนเผาลนดังเวทนาที่ประกอบด้วยอุปาทาน(เวทนูปาทาน) ดังพุทธพจน์ที่แสดงไว้ให้เข้าใจและรู้เท่าทันในเวทนาดังนี้ เมื่อเป็นสุขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นสุขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี เมื่อเป็นทุกขเวทนาก็ให้รู้ว่าเป็นทุกขเวทนา เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี เมื่อเป็นอทุกขมสุขก็ให้รู้ว่าเป็นอทุกขมสุข เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดมีอามิส(เครื่องล่อใจ-เจือกิเลส)ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี เมื่อเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นอทุกขมสุข ชนิดไม่มีอามิส ก็รู้ว่ามี เมื่อไม่มีก็รู้ว่าไม่มี เวทนาเป็นเพียงสักแต่ว่าเวทนาคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นและจำต้องรับรู้ ที่แท้จริงก็แค่ความรู้สึกที่ต้องเกิดขึ้นจากการกระทบจึงไม่ควรไปยึดมั่น เกิดขึ้นและเป็นไปตามธรรมหรือสภาวธรรมหรือธรรมชาติจริงๆ ตามเหตุปัจจัยอันมาปรุงแต่ง หรือมาผัสสะ จึงเกิดๆดับๆ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไม่มีตัวไม่มีตนแท้จริง จึงไม่ใช่เราไม่ใช่ของเราอย่างแท้จริงอีกด้วย จึงควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้, เห็นเวทนาทั้งในเวทนาตนเอง(เห็นเวทนาในเวทนาภายใน แต่ไม่ใช่อาการของจิตส่งในแต่อย่างใดด้วยเข้าใจผิด) และเห็นเวทนาในเวทนาบุคคลอื่น(เห็นเวทนาในเวทนาภายนอก จึงไม่ใช่อาการจิตส่งออกนอกไปฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งแต่อย่างใด) ในทางปฏิบัติของ เห็นเวทนาในเวทนา คือมีสติรู้อยู่เนืองๆว่าเวทนาสักแต่ว่าเวทนา อันย่อมต้องเกิดความรู้สึกจากการรับรู้ในอารมณ์ที่ผัสสะกันเป็นธรรมดาโดยธรรมชาติหรือตถตา จึงไม่ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในเวทนาเหล่าใดเหล่านั้น ด้วยการอุเบกขาไม่เอนเอียงไปนึกคิดปรุงแต่งคือฟุ้งซ่านอันยังให้เกิดเวทนาขึ้นอีก อันจักเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดตัณหา อันทําให้เกิดทุกข์ อันเป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทธรรม กล่าวคือไม่ต่อล้อต่อเถียงกับจิต อันเป็นการเปิดโอกาสให้จิต หลอกล่อไปปรุงแต่งต่างๆนาๆให้เกิดเวทนาๆต่างๆนาๆ อันอาจเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานโดยไม่รู้ตัวด้วยความไม่รู้คืออวิชชา (พระอภิธรรม แสดงความหมายของเวทนาภายใน จึงไม่ได้หมายถึงอาการส่งจิตไปแช่นิ่งภายในหรือจิตส่งใน และแสดงเวทนาภายนอก)
               ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน คือการเห็นจิตในจิต หรือสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาจิต (จิตตสังขารหรือมโนสังขารเช่นความคิด,ความนึก คือธรรมารมณ์ต่างๆ) และโดยเฉพาะอาการของจิตหรือกริยาของจิต(เจตสิก) ดังเช่น ราคะ, โทสะ,โมหะ, ฟุ้งซ่าน หดหู่ เป็นสมาธิ ฯ. ที่ย่อมยังให้เกิดเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ คือ มีสติระลึกรู้เท่าทันในจิตตสังขาร ตามสภาพเป็นจริงที่เป็นอยู่ในขณะนั้นๆ(บ้างเรียกกันว่าเห็นจิตในจิต)เช่น จิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็รู้ว่าจิตมี, จิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะก็รู้ว่าปราศจากราคะ โทสะ โมหะ, จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน ทั้งในของตนเองและของบุคคลอื่น อันเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ และพิจารณาการเกิดๆดับๆว่า เป็นไปตามธรรมคือสภาวธรรมหรือธรรมชาติ ล้วนไม่เที่ยงของจิตตสังขารดังกล่าว เห็นจิตในจิต หรือ จิตเห็นจิต ถ้าเข้าใจขันธ์ ๕ จักเข้าใจได้ว่าหมายถึงการมีสติเห็นจิตตสังขารที่บังเกิดขึ้น(จิตสังขารหรือมโนสังขารในขันธ์๕นั่นเอง ล้วนเป็นสิ่งเดียวกัน) อันมีตามที่ท่านตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรดังนี้ คือมี จิตมีราคะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยราคะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่ง ที่ประกอบด้วยความกำหนัดความปรารถนาในกามทั้ง๕ นั่นเอง จิตมีโทสะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโทสะ กล่าวคือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความโกรธความขุ่นเคือง นั่นเอง จิตมีโมหะ เป็นเจตสิก คืออาการของจิตที่ประกอบด้วยโมหะความหลง หรือกลุ่มของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านที่ประกอบด้วยความไม่รู้จริง นั่นเอง จิตหดหู่ ก็เป็นเจตสิกในข้อที่ ๒๕ ในเจตสิก ๕๒ เป็นกลุ่มอาการของความคิดนึกหรือฟุ้งซ่านปรุงแต่งที่ทำให้เกิดความหดหู่ใจ ใจหดห่อ แห้งเหี่ยวใจ จิตฟุ้งซ่าน เป็นอาการของจิตอย่างหนึ่ง ที่เรียกอุทธัจจะในข้อที่ ๑๗ ในเจตสิก ๕๒ เป็นอาการของจิตที่ฟุ้งซ่าน หรือส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่งคือผัสสะในสิ่งหรือเรื่องต่างๆ หรือเปรียบเทียบได้ดั่งองค์ธรรมชรา ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จิตเป็นฌานหรือมหรคต จิตเป็นฌาณ, จิตอยู่ในกำลังฌาน, จิตประกอบด้วยกำลังของฌานอยู่ (เกิดขึ้นได้แม้ในขณะดำเนินชีวิตประจำวัน ขึ้นอยู่กับวสีความชำนาญ และมาจากการสั่งสมประพฤติปฏิบัติจนมักเกิดการเลื่อนไหลไปโดยไม่รู้ตัว) จิตเป็นสมาธิ จิตมีความตั้งใจมั่นในสิ่งใดอยู่ แม้ในชีวิตประจำวัน ไม่ได้หมายถึงการไปนั่งสมาธิแต่อย่างเดียว จิตมีสิ่งอื่นยิ่งกว่า หมายถึงอาการของจิตเป็นเอกหรือเป็นใหญ่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เช่นจิตเป็นเอกอยู่กับการคำบริกรรมพุทโธ หรือจิตเป็นเอกอยู่ในกิจหรืองานใดๆ, หรือจิตเป็นเอกในธรรมที่เป็นเครื่องอยู่เครื่องพิจารณา, หรือจิตหมกมุ่นจดใจจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่, จิตหมกมุ่นกับการส่งออกไปปรุงแต่ง จิตวิมุตติหรือจิตหลุดพ้น หมายถึงอาการที่จิตหลุดพ้นจากกิเลสหรือเจตสิกต่างๆ เช่นดังที่กล่าวข้างต้น (เป็นไปในขณะหนึ่งๆ ยังไม่ได้หมายถึงเป็นการถาวรหรือนิพพาน) กล่าวคือ ล้วนมีสติระลึกรู้เท่าทัน กล่าวคือมีสติระลึกรู้ "จิต หรืออาการของจิต คือเจตสิกที่บังเกิดขึ้น ณ ขณะจิตนั้นๆ" อนึ่งอาการของจิตทั้งหลายหรือเจตสิก ดังเช่น ราคะ โทสะ โมหะ จิตฟุ้งซ่าน ฯลฯ. นั้นมันไม่มีอาการเป็นรูปธรรมเป็นตัวเป็นตนแท้จริง แต่มันอาศัยแฝงอยู่กับสังขารขันธ์ คือการกระทำต่างๆนั่นเอง ดังเช่น ความคิด(มโนสังขาร)ที่ประกอบด้วยราคะ, การทำร้ายผู้อื่นทางกาย(กายสังขาร)ที่ประกอบด้วยโทสะ, การคิดด่าทอ,ต่อว่า(วจีสังขาร)ที่ประกอบด้วยโมหะคืออาการหลงไปปรุงจนเกิดทุกข์ที่ประกอบด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง เช่นคิดหรือธรรมารมณ์กระทบใจแล้วจะให้รู้สึกเฉยๆ, การเกี้ยวพาราสีทั้งด้วยคำพูดทั้งกริยาท่าทางที่ประกอบด้วยราคะ, จิตคิดฟุ้งซ่านหรือคิดวนเวียนไม่หยุดหย่อนในเรื่องไร้แก่นสาร เช่นคิดไปในอดีต อนาคต ก็คือความคิดที่ประกอบด้วยจิตฟุ้งซ่านหรือส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่งนั่นเอง ใช้วิธีมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต เป็นหลักปฏิบัติประจําเมื่อปฏิบัติจนชํานาญแล้ว ระลึกรู้และเท่าทันในเวทนา(เวทนานุปัสสนา)อย่างถึงใจ และเข้าใจปฏิจจสมุปบาทดีแล้ว จิตจักรู้สภาพจิตสังขารหรืออาการของจิต(เจตสิก)ที่เกิดขึ้น คือ เห็น ราคะ โมหะ โทสะ ชัดเจนขึ้น เมื่อจิตเห็นจิต ซึ่งก็คือ สติเห็นจิตตสังขารนั่นเอง เพราะจิตตัวแรกนั้นหมายถึงสติอันเป็นจิตตสังขารหรือเจตสิกอย่างหนึ่งนั่นเอง จิตจะเห็นความคิดหรืออาจเห็นเวทนาที่ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลาว่าเป็นสภาวธรรมอันไม่เที่ยง ไม่มีแก่นแกนหรือแก่นสาร และก่อให้เกิดทุกข์อย่างชัดแจ้ง อันทําให้รู้เห็นตามความเป็นจริงในสภาวธรรม จิตจักได้คลายความยึดมั่นถือมั่นในเวทนาและจิตที่ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้จึงเป็นทุกข์ และอนัตตา อันก่อให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ เห็นความคิด(จิตหรือจิตตสังขารนั่นเอง) และการเสวยอารมณ์ต่างๆหรือความรู้สึกสุข,ทุกข์,ไม่สุขไม่ทุกข์ (เหล่าเวทนา) ว่าเป็นไปตามไตรลักษณ์ ดังนั้นเมื่อไปอยากด้วยตัณหา จึงย่อมเกิดการยึดด้วยอุปาทานเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง ดังนั้นเมื่อไปอยากหรือไปยึดไว้ด้วยเหตุผลกลใดก็ดี เมื่อมีการแปรปรวนด้วยอนิจจัง แล้วย่อมดับไปด้วยทุกขังเพราะสภาวธรรม จึงไม่เป็นไปตามปรารถนา จึงเกิดเป็นทุกข์อุปาทานที่ต่างจากทุกขเวทนาตรงที่มีความเร่าร้อน,เผาลน,กระวนกระวายตามกำลังของตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง ในทางปฏิบัติของการ เห็นจิตในจิต คือสติเห็นจิตสังขาร(เช่นความคิด)ที่เกิดขึ้นว่า สักแต่ว่าจิตสังขารตามที่พิจารณาอยู่เนืองๆ แล้วอุเบกขาไม่เอนเอียงไปแทรกแซงด้วยถ้อยคิดปรุงแต่ง หรือกริยาจิตใดๆ ดังการคิดเรื่อยเปื่อยหรือฟุ้งซ่านจึงย่อมยังให้เกิดเวทนาอื่นๆที่อาจเป็นปัจจัยจึงมีตัณหาเกิดขึ้น จึงทําให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อน (จิตตานุปัสสนานิเทส แสดงความหมายของจิตภายใน จึงไม่ใช่หมายถึงจิตส่งใน และความหมายของจิตภายนอก) (แสดงความหมายของคำว่าจิต ในจิตตัวที่๒ของ จิตเห็นจิต อะไร?)
               ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน สติกําหนดพิจารณาธรรม(สิ่งต่างๆ)ที่บังเกิดแก่ใจเป็นอารมณ์ทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล ก็เพื่อเป็นเครื่องเตือนสติและเครื่องระลึกรู้เพื่อให้เกิดปัญญาเป็นสำคัญหรือเป็นวัตถุประสงค์ ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแนะในมหาสติปัฏฐานสูตรให้พิจารณา เป็นอาทิ เช่น ๔.๑ นิวรณ์ ๕ เช่น ข้อพยาบาทให้พิจารณาว่า มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า มีอยู่ ณ ภายในจิต ไม่มีอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น ที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น เป็นเช่นนี้ทุกข้อใน กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ๔.๒ ขันธ์ ๕ และอุปาทานขันธ์๕ ๔.๓ อายตนะภายใน และนอก ๔.๔ โพชฌงค์ ๗ ๔.๕ อริยสัจ ๔ และมรรคองค์ ๘ การพิจารณาธรรมต่างๆเหล่านี้ในจิต เป็นธัมมวิจยะ(การพิจารณาธรรม)เพื่อเป็นเครื่องรู้, ระลึกเตือนสติเป็นแนวทาง ให้เกิดปัญญาไม่ไปยึดมั่นถือมั่นเช่นกัน เพราะธรรมทั้งหลายเหล่านี้จัดเป็นสังขารในไตรลักษณ์ คือเกิดแต่เหตุปัจจัยเช่นกัน เมื่อเหตุปัจจัยของสังขารธรรมเหล่านี้แปรปรวนหรือดับ สังขารธรรมนี้ก็เช่นกัน อีกทั้งเมื่อเรารู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็เกิดขึ้น เมื่อเราหยุดรู้ระลึกธรรมทั้งหลายก็ดับลงเช่นกัน เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ แม้จักเป็นจริงตามธรรมชาติเช่นนี้ตลอดกาล แต่เหตุปัจจัยได้แปรปรวนและดับเสียแล้วเช่นกัน ในทางปฏิบัติของ สติเห็นธรรม คือระลึกรู้ในธรรมหรือสิ่งทั้งหลายที่บังเกิดแก่จิตในขณะนั้นๆ ก็เพื่อให้เกิดปัญญาญาณนั่นเอง คือมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องทุกข์และการดับไปของทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง สติปัฏฐาน๔ นั้นมีจุดประสงค์อยู่ที่ฝึกสติ และใช้สติพิจารณาสรุปให้เข้าใจโดยถ่องแท้เพื่อให้เกิดสัมมาญาณ(ปัญญาญาณ)ว่า ธรรมทั้งหลายอันมี กาย เวทนา จิต ธรรม มีอยู่ก็เพียงสักว่าความรู้ อาศัยระลึกเตือนสติเตือนใจไม่ให้ไปยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ(หมายถึงอุปาทาน)ใดๆในโลก ก็ด้วยลักษณาการของการอุเบกขาเสียนั่นเอง อีกทั้งมีพุทธประสงค์ให้ปฏิบัติในชีวิตประจําวันขนาดกล่าวได้ว่าแทบทุกลมหายใจ กล่าวคือเมื่อจิตหรือสติวนเวียนระลึกรู้หรือพิจารณาอยู่ในธรรมทั้ง ๔ แล้ว จิตย่อมหยุดส่งจิตออกนอกไปนึกคิดปรุงแต่งต่างๆอันก่อให้เกิดทุกข์ จิตอยู่ในที่อันควรแลสงบ ขณะจิตนั้นเองจิตย่อมเกิดกําลังแห่งจิตขึ้นเนื่องจากสภาวะปลอดทุกข์ขึ้นทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว อันยังให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นทีละเล็กทีละน้อยสะสมขึ้นเช่นกัน จนในที่สุดจักเกิดสภาวะ อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง หรือธรรมสามัคคีนั่นเอง เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมนั้นๆอย่างแท้จริง สติปัฏฐาน๔ มีเจตนาต้องการให้ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ ไม่ใช่แต่ กาย เวทนา จิต ธรรม เท่านั้น เพียงแต่ธรรม ๔ ข้อนี้เป็นหลักสําคัญในการดับหรือลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจของตนหรืออุปาทาน อันก่อให้เกิด "อุปาทานขันธ์ ๕"อันเป็นทุกข์ ถ้านั่งปฏิบัติในรูปแบบ ให้มีสติอย่าปล่อยให้เลื่อนไหล ผ่อนคลายกายและใจ เมื่อเริ่มต้นใช้สติดูลมหายใจ ก็จะเกิดอาการต่างๆจากการปฎิบัติสมถวิปัสสนามาให้เห็น แต่นักปฏิบัติมักจะไม่ชอบ คิดว่าผิด อันไปคิดกันว่าไม่ดี ไม่ถูก จิตไม่สงบ เพราะไม่รู้จึงไม่แยกแยะว่านี่เป็นการฝึกสติ ไม่ใช่ฝึกสมาธิ ไม่ได้ลิ้มรสของความสงบสุขแลสบายจากสมาธิหรือฌานตามที่เข้าใจหรือเคยประสบ, โดยธรรมชาติของจิตนั้น จิตจะส่งออกไปเห็นนั่น เห็นนี่ คิดนั่น คิดนี่ เป็นปกติธรรมดาตามสภาวธรรมชาติ เพียงให้มีสติระลึกรู้ว่า นั่นแหละจิตสังขารหรือความคิดความนึกหรือสังขารในปฏิจจสมุปบาท อันจัดเป็นคุณอย่างยิ่ง อันจักพอแยกออกไปได้ ๒ ลักษณะ คือ รูปนิมิต หรือเห็นเป็นภาพหรือรูปขึ้นในจิต ในบางขณะเมื่อเผลอตัวจิตจักส่งออกไปซัดส่ายปรุงแต่งเป็นภาพต่างๆนาๆผุดขึ้นมาอันคือสังขารในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง จิตเมื่อเผลอย่อมส่งออกไปสักระยะจนอิ่มตัว หรือมีสติรู้สึกตัวก็ให้ละเสีย เป็นเรื่องธรรมชาติอันต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา หรือจากอาการของจิตขาดสติ เลื่อนไหลไปเป็นสมาธิหรือฌานจนเกิดนิมิตต่างๆขึ้น นามนิมิต หรือเป็นความคิดนึกต่างๆนาๆที่ผุดขึ้นมาแทนที่ภาพนั่นเอง เป็นสังขารในปฏิจจสมุปบาทเช่นกัน อาการก็จักเหมือนรูปนิมิต ที่จิตเผลอส่งออกไปคิดปรุงแต่งเมื่อขาดสติเป็นธรรมดา เมื่อจิตส่งออกไปสักพักไปปรุงแต่งจนเกิดทุกข์หรือฟุ้งซ่านจนอิ่มตัวหรือมีสติรู้ตัว ก็ให้ละเสีย แต่ให้รู้ให้เข้าใจด้วยว่าเกิดความรู้สึกเป็นทุกข์เยี่ยงไรจากความคิดนึกหรือสังขารที่สั่งสมที่เกิดขึ้นมานั้น เช่นเห็นเวทนาที่เกิดขึ้น หรือเห็นจิตเช่นความโลภ โกรธ หลง ฯลฯ. เห็นอันใดก็ปฏิบัติอันนั้น ให้รู้ว่าเหตุเกิดจากเวทนานั้นๆหรือจิตคิดนั้นๆ แล้วดับลงเพราะสติ? จิตมีทุกข์ไหม? ห้ามไปคิดเรื่องทุกข์นั้นให้คิดแต่เรื่องเหตุที่เกิด เมื่อเข้าใจแล้วต้องละ(ละในภาษาธรรมหมายถึงมีสติรู้เข้าใจแล้ววางเสีย)คือถืออุเบกขาเป็นกลางไม่ปรุงแต่งเอนเอียงไปทั้งในด้านดีหรือด้านร้าย อันเป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่งยวดในการปฏิบัติ เพราะจิตเมื่อเห็นเวทนาและโทษจากจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือสังขารที่สั่งสมไว้บ่อยๆ จิตจะได้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาขึ้นว่าสิ่งเหล่านี้เองที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์ และที่สําคัญคือเป็นอุบายวิธีในการฝึกสติให้เป็นอุเบกขาหยุดการปรุงแต่ง, อันอุเบกขานี้เป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง มิสามารถเกิดขึ้นเอง จึงต้องหมั่นฝึกอบรมปฏิบัติให้เป็นสังขารที่สั่งสมใหม่อันมิได้เกิดแต่อวิชชา อันมีคุณอย่างยิ่งยวดในการดับทุกข์ และเป็นองค์ธรรมข้อสุดท้ายในโพชฌงค์๗ ธรรมอันเป็นเครื่องตรัสรู้ เมื่อเกิดความคิดหรือจิตที่ประกอบด้วยอาการโลภ โกรธ หลง หดหู่ สมาธิ ฌาน ฯ. ก็ให้มีสติรู้ตามความเป็นจริง อย่าไปกดข่ม แค่ต้องรับรู้ตามจริง มีอาการต่างๆย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา แต่ข้อสําคัญคือวางอุเบกขาเป็นกลาง เป็นกลางอย่างไร? เป็นกลางโดยการวางทีเฉยดูไม่ไปนึกคิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในทางใดๆทั้งสิ้น ไม่ว่าจะดี หรือชั่ว, เราถูก หรือเขาผิด, สังเกตุอาการที่เกิดขึ้นให้รู้คุณและโทษของจิตที่คิดปรุงแต่งนั้น จึงจักเป็นการปฏิบัติจิตตานุปัสสนาที่ถูกต้อง, หรือเมื่อปวดเมื่อยหรือรับรู้ความรู้สึกใดๆที่กระทบทางกายหรือใจ ก็ให้รู้ว่านั่นแหละเวทนา ให้มีสติรู้ว่าเป็นความรู้สึกรับรู้ต่อกายหรือใจเยี่ยงไร มีกิเลสแฝงด้วยไหม แล้วอุเบกขาเป็นกลางวางเฉยไม่คิดปรุงแต่งเอนเอียงไปในด้านใด รู้สึกอย่างไรก็รู้สึกอย่างนั้น ไม่ใช่ว่าอาการนั้นๆต้องหายไป แต่ต้องไม่ใส่ใจวางใจเป็นอุเบกขาไม่ปรุงแต่ง อันเป็นการปฏิบัติเวทนานุปัสสนา, หรือธรรมใดบังเกิดต่อจิตหรือหยิบยกขึ้นมาพิจารณา ก็ให้พิจารณาธรรมนั้นๆเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในธรรมอันมีกําลังของสติที่ไม่ซัดส่ายมีกําลัง เป็นเครื่องช่วย อันเป็นการปฏิบัติธรรมานุปัสสนา อันจักยังให้เกิดปัญญาจากธรรมนั้นๆ, หรือใช้สตินั้นไปพิจารณากายว่าล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย สักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง หรืออันล้วนแต่เป็นสิ่งปฏิกูล ฯ. เป็นการคลายลดละความยึดถือยึดมั่นในกายแห่งตน อันเป็นการปฏิบัติแบบกายานุปัสสนา ข้อสังเกตุของผู้เขียนและความคิดเห็น ในหมวดธรรมานุปัสสนา มีกล่าวถึงสมาธิหรือองค์ฌานไว้ในหมวดของมรรค๘ ว่าเป็นสัมมาสมาธิหรือหมายถึงสมาธิที่ถูกต้อง ที่ถูกที่ควร, ถูกต้องจริงแต่หมายถึงในแง่สมาธิหรือแง่หมวดธรรมมานุปัสสนาเท่านั้น อันไว้เป็นกําลังแห่งจิตหรือพักผ่อนกายและจิต, ไม่ใช่ในแง่การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔อันเป็นการใช้สติปฏิบัติวิปัสสนาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริงแห่งธรรม, จึงมีผู้สับสนเป็นจํานวนมากที่เข้าใจว่าปฏิบัติสมาธิหรือฌานอันบางท่านใช้ลมหายใจเป็นอุบายวิธีเช่นกันกับสติปฏัฐาน๔ จึงเกิดการสับสนในการปฏิบัติเข้าใจว่าเป็นการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔, แม้แต่เกิดองค์ฌานตามพระสูตรอันเป็นสัมมาสมาธิในแง่สมาธิแล้วก็ตาม ก็ต้องไม่ไปยึดติดยึดมั่นหรือมีตัณหาในองค์ฌาน ปีติ สุข อุเบกขา นั้นด้วยจึงจะถูกต้อง มิฉนั้นก็จะเกิดวิปัสสนูปกิเลส อันยังผลร้ายแก่นักปฏิบัติ สติปัฏฐาน๔ นี้เป็นการฝึกสติ และใช้สติ เราสามารถปฏิบัติได้ในทุกขณะและอริยาบถ โดยไม่จําเป็นต้องปฏิบัติแบบการนั่งสมาธิเต็มรูปแบบ สามารถทําได้ในขณะจิตตื่นสบายๆไม่เครียดหรือหงุดหงิด ก็นํามาคิด ตริตรอง ใช้ปัญญาพิจารณา สังเกตุเห็นเวทนาหรือจิตได้ในทุกอิริยาบถ ซึ่งวิปัสสนาใช้สมาธิระดับขณิกกะสมาธิ(แค่ไม่วอกแวก,อยู่กับกิจหรืองานที่ทํา) หรือเกือบเป็นอุปจารสมาธิเท่านั้นเช่น เมื่อพิจารณาจนเกิดปัญญาหรือเข้าใจในเวทนาหรือจิตจริงๆ เราจะเข้าใจในธรรมนั้นๆ เช่นเวทนานุปัสสนา โดยจะไม่ไปยึดมั่นพึงพอใจในเวทนามากเหมือนในอดีตอีก เนื่องจากรู้ว่าเป็นกระบวนการทางธรรม(ชาติ)ไม่สามารถไปหยุดไปห้ามได้และเป็นไตรลักษณ์ เหมือนกับห้ามหายใจไม่ได้ฉันใดก็ห้ามเวทนาไม่ได้ฉันนั้น และไม่ใช่ความทุกข์ตัวจริง ดับความยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน)ได้ก็คือดับอุปาทานในปฏิจจสมุปบาทได้ ผลก็คือไม่มีความทุกข์อันเกิดจาก "อุปาทานขันธ์๕ "ซึ่งเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อสิ่งนี้ดับ ผลนี้ก็ดับดังบทสรุปในมหาสติปฏิปัฏฐาน ๔ทุกบท ของกาย, เวทนา, จิต, ธรรม ตลอดจนบทย่อยทุกๆบท แสดงถึงพุทธประสงค์ของพระพุทธองค์ ในการปฏิบัติไว้เด่นชัด รวมถึง ๒๑ ครั้ง คือ ดั่งนี้ ย่อมพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายในบ้าง(เปลี่ยนเวทนาเป็น กาย จิต ธรรม และบทย่อยๆ) พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น เวทนาในเวทนา ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเกิดในเวทนาบ้าง(เห็นธรรมคือเห็นธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ) พิจารณาเห็น ธรรมคือ ความเสื่อมในเวทนาบ้าง(ดับไป) พิจารณาเห็น ธรรมคือ ทั้งความเกิด ทั้งความเสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมมีอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็ แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้, เครื่องรู้ เพียงสักแต่ว่า เป็นที่อาศัยระลึกเท่านั้น(หมายถึงอาศัยเป็นเครื่องรู้ระลึกและพิจารณาเป็นเครื่องเตือนสติและก่อปัญญา) เธอเป็นผู้ซึ่งตัณหาและทิฐิ ไม่ติดอยู่ด้วย และไม่ยึดถือ(หมายถึงไม่ยึดติด,ไม่ยึดมั่นถือมั่นคือเป็นอุปาทาน) อะไรๆในโลกด้วย อย่างนี้แล ชื่อว่าพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาเนืองๆอยู่ (เป็นเช่นนี้ในตอนท้ายของ กาย เวทนา จิต ธรรม และบทย่อยๆทั้งหลาย เน้นย้ำเหมือนกันทุกประการถึง ๒๑ ครั้ง) เวทนาในเวทนา หมายถึง เข้าใจในเวทนาจริงๆอย่างถูกต้อง เห็นเวทนาตามความเป็นจริงไม่ถูกครอบงําโดยกิเลส หรือทิฎฐุปาทาน(ยึดมั่นในความเชื่อของตนเองอย่างผิดๆ) เห็นว่าสักแต่เพียงกระบวนการทางธรรม(ชาติ)เป็นปกติอย่างนี้ตลอดกาล เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ไม่ไปยึดมั่นหรือถือมั่นให้เป็นอุปาทานในเวทนาหรือการเสพรสความรู้สึกรับรู้ในอารมณ์ที่บังเกิดขึ้นนั้น เวทนาภายใน หมายถึง เวทนาของตนเอง เวทนาภายนอก หมายถึง เวทนาของบุคคลอื่น ตลอดจนในบทสรุปของ "มหาสติปัฏฐานสูตร"อันต่อจากบทธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดแจ้งเช่นกันถึงการบรรลุพระอรหัตตผล กล่าวคือถ้ายังมีอุปาทิ(สภาพที่ถูกอุปาทานยึดไว้มั่น)อันคืออุปาทานยังไม่สิ้นหมด ยังคงมีเหลืออยู่บ้างก็จักได้เป็นพระอนาคามี ดังความในพระสูตรต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งพึงเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ อย่างนั้น ตลอดเนืองๆ ๗ ปี ผู้นั้นพึงหวังผล ๒ ประการ อันใดอันหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบันชาตินี้ ๑ หรือเมื่ออุปาทิ ยังเหลืออยู่ จักเป็นพระอนาคามี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๗ ปียกไว้ ....................... (เหมือนเดิมทุกประการ เพียงเปลี่ยนเป็น ๖ ปี, ๕ ปี, ๔ปี.....๑ ปี, ๗ เดือน, ๖ เดือน...๑ เดือน, กึ่งเดือน, และสุดท้ายที่๗ วัน เป็นเช่นเดียวกันทุกประการ ถึง ๑๖ ครั้ง) ดังนั้นจุดมุ่งหมายที่แท้จริงของสติปัฏฐาน ๔ ก็คือการใช้สติเพื่อดับตัณหาอุปาทานนั่นเอง ซึ่งก็จักบังเกิดผลดั่งพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ผู้ไม่มีอุปาทานย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) ผู้ที่ปฏิบัติโดยยึดหลัก"มหาสติปัฏฐาน๔" ควรสํารวจการปฏิบัติของเราด้วยว่าเราปฏิบัติเพื่อฝึกสติและใช้สติเพื่อลดละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในตัวตน,ของตัวตนของตนหรืออุปาทานในกาย เวทนา จิต ธรรม ของเราเองถูกต้องดังพุทธประสงค์หรือไม่? หรือเรากําลังปฏิบัติโดยไม่ทราบจุดมุ่งหมายพระพุทธประสงค์ หรือกําลังปฏิบัติสมาธิอยู่? การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้ การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้ หรือลงภวังค์ หรือหลับไปอย่างง่ายๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา, กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้ รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็นที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ. เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น กุณฑลิยสูตร กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์? พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ โพชฌงค์ ๗ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุติให้บริบูรณ์. กุณฑลิยะ : ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ก็ธรรมเหล่าไหนที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์? พระพุทธเจ้า : ดูกรกุณฑลิยะ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์. ดังนั้นเมื่อเจิญสติปัฏฐาน ๔ แล้วจึงพึงเจริญโพชฌงค์ ๗ ด้วย วิชชาแลวิมุตติจึงบริบูรณ์ได้ ข้อคิด ในความเห็นของผู้เขียน การปฏิบัติอานาปานสติและสติปัฏฐาน ๔ เป็นที่นิยมสูงสุดสําหรับนักปฏิบัติ แต่มักผิดพุทธประสงค์ เพราะส่วนใหญ่มีความสับสนกันระหว่าง การฝึกและใชัสติในสติปัฏฐาน ๔ กับสมาธิ คือ ปฏิบัติกันไปจนแยกแยะไม่ถูก ไม่รู้ว่าฝึกสติหรือฝึกสมาธิ คลุกเคล้ากันจนแยกไม่ออก จนไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นเครื่องก่อให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสได้ และบางทีก็เน้นแต่การฝึกเช่นพิจารณาลมหายใจ หรืออิริยบถ(จงกรม) แต่ไม่ใช้สติไปในการพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมอื่นใดเลย หรือใช้วิธีท่องบ่นอยู่แต่อย่างเดียวไม่เห็นความสําคัญของสติ และความเข้าใจอันยังให้เกิดปัญญา อยู่แต่ขั้นฝึกแบบเดิมนั่นแหละ ไม่ก้าวหน้าสู่วิถีวิปัสสนาเลย ที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติใช้สติที่ฝึกนั้นไปในการพิจารณาหรือระลึกรู้เท่าทัน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อให้เห็นความจริงแท้ๆในสิ่งนั้นๆ ก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาลดละตัณหาและความยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจ หรือความหลงใหลในสิ่งทั้งหลาย อันคืออุปาทานนั่นเอง สติปัฏฐานควรให้มีสติและใจสงบ ซึ่งปกติฝึกสติและใช้สติพิจารณาลมหายใจจนแค่ใจสงบระดับขณิกสมาธิ หรือปีติ แค่มีสติ ใจไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้งซ่าน อยู่ในเรื่องที่จะคิดพิจารณาได้ไม่วอกแวกสอดส่ายออกไปในเรื่องอื่นๆเท่านั้น แล้วใช้สตินั้นมาพิจารณา กาย เวทนา จิต หรือธรรมใดๆที่จะคิดพิจารณานั้น หรือที่บังเกิดขึ้นแก่จิตในขณะปฏิบัตินั้นๆ จึงจักเป็นการที่ถูกต้อง ไม่ควรปล่อยให้จิตเคลิบเคลิ้ม หรือลงภวังค์ ไปนิ่งสนิทหรือแช่นิ่งอยู่ในสมาธิหรือฌานระดับสูง อันเป็นการผิดวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ"สติปัฏฐาน ๔" นอกจากบางครั้งที่เมื่อพิจารณาไปจนพอใจ หรือจิตต้องการพัก ซึ่งก็จะเข้าไปพักในสมาธิหรือฌานในระดับประณีตต่อเนื่องไปก็ได้ ถ้าต้องการฝึกสมาธิ หรือเข้าสมาธิเพื่อการพักกาย พักจิต(ต้องไม่ใช่เพื่อเจตนาไปเสพสุขในปีติหรือสุขอย่างเด็ดขาด) ก็แค่ดูลมหายใจกระทบปลายจมูกให้สงบ แล้วปล่อยให้เลื่อนไหลไปตามสภาวะองค์ฌานหรือสมาธิเองตามธรรมชาติ หรือตามความชํานาญ(วสี)ในการเข้าออกสมาธิหรือองค์ฌานตามที่ปฏิบัติสั่งสมไว้แล้ว(ฌาน,สมาธิ) --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม ในชีวิตประจำวันอย่างไร กระดานธรรม ๒ จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม (จิตอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม หรือจิตเห็นกายหรือจิต หรือจิตเห็นรูปหรือนาม)หมายถึง การมีสติระลึกรู้เท่าทันตามความเป็นจริง รวมทั้งการพิจารณาให้เห็นความจริงใน กาย เวทนา จิต หรือธรรม อันเป็นหลักปฏิบัติในสติปัฏฐาน ๔ หรือในแนวทางปฏิจจสมุปบาทธรรมนั่นเอง แต่ที่กล่าวในครานี้ เป็นการกล่าวเน้นถึง การนำสิ่งที่ปฏิบัติในพระกรรมฐานหรือการวิปัสสนา มาปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจักให้ผลยิ่ง กล่าวคือ นำความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนสติจากการฝึกปฏิบัติในพระกรรมฐานมาใช้ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือเป็นการปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดผลขึ้น คือเพื่อการดับเหล่าอุปาทานทุกข์ลงไปจริงๆ พร้อมทั้งการสั่งสมอย่างถูกต้อง อย่างเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง จนจิตเห็นในกาย เวทนา จิต ธรรม อย่างเป็นมหาสติ เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานในสติปัฏฐาน ๔ นั้น การปฏิบัติอาจเป็นไปตามลำดับขั้นตอน กาย เวทนา จิต ธรรม เพื่อเป็นการสั่งสมเป็นลำดับขั้น ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม เพื่อกันความสับสน บางท่านอาจเน้นปฏิบัติตามจริตหรือสติแห่งตน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามเมื่อปฏิบัติในพระกรรมฐานแล้ว เมื่อออกจากพระกรรมฐานต้องนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันด้วย จึงจักบังเกิดผลดี ปัญหาที่มักสงสัย คือปฏิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวัน? ต้องเห็นเท่าทันในธรรมทั้ง ๔ หรือ? ต้องปฏิบัติหรือเท่าทันอะไรก่อน? อะไรสำคัญกว่ากัน? ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้น หมายถึง มีสติซึ่งก็คืออาการหนึ่งของจิต(ข้อที่ ๒๙ ในเจตสิก ๕๒)ชนิดจิตตสังขารจึงต้องประกอบด้วยการเจตนากระทำขึ้นนั่นเอง ที่ระลึกรู้เท่าทัน ที่ประกอบด้วยปัญญาอยู่ในที ที่หมายถึงรำลึกรู้เข้าใจตามความจริงในธรรมทั้ง ๔ ใดก็ได้ ที่สติระลึกรู้เท่าทันขึ้นนั้นๆ จึงขึ้นอยู่กับจริต, สติ, ปัญญา, การปฏิบัติหรือการสั่งสม ฯ. ดังเช่น สติย่อมอาจเห็นเวทนาได้แจ่มแจ้งรวดเร็ว ในสิ่งที่เป็นอดีตหรือสัญญาความจำได้ที่เคยเกิดเคยเป็นอย่างแนบแน่น เช่นในคนที่เกลียด เมื่อเกิดการกระทบคือผัสสะ สติย่อมแลเห็นทุกขเวทนามีอามิสอย่างชัดเจนรวดเร็วกว่าเห็นจิตสังขาร, กล่าวคือ มีสติในธรรมทั้ง ๔ ธรรมใดธรรมหนึ่งก็ได้ ที่บังเกิดขึ้นแก่จิต จากการผัสสะกับอารมณ์ต่างๆในการดำเนินชีวิต ซึ่งสติที่ระลึกรู้เท่าทันนั้นย่อมมีความแตกต่างกันไปบ้างในแต่ละบุคคลตามสติ จริต ปัญญา และการปฏิบัติคือแนวทางที่ตนสั่งสมนั่นเอง ฯ. แต่ล้วนแล้วมีคุณประโยชน์ทั้งสิ้น ขณะสติระลึกรู้เท่าทันในการปฏิบัติ มีหลายรูปแบบ ปฏิบัติแรกๆย่อมไม่สามารถระลึกรู้เท่าทันในขณะเกิดได้เสมอไปเป็นธรรมดาเนื่องจากย่อมขาดปัญญาและการสั่งสมของสติ ดังนั้นจึงอาจมีสติระลึกรู้เท่าทันเมื่อเกิดขึ้นบ้าง หรือสติรู้เท่าทันเมื่อมีอาการแปรปรวนหรือปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปแล้วบ้าง หรือสติรู้ระลึกเมื่อดับไปแล้วบ้าง ดังเช่นในการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แต่ก็ล้วนยังให้เกิดประโยชน์เช่นกัน กล่าวคือเป็นทั้งการฝึกสติ และปัญญาถ้ารู้ถึงเหตุปัจจัย เช่นเกิดแต่การผัสสะของธรรมารมณ์หรือหูหรือตาจึงยังให้เกิดขึ้นเป็นต้น จึงก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ(ปัญญา)ขึ้นจากการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตโดยตรง บางครั้งจะเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งหรือเห็นชัดในขณะที่เกิดการผัสสะกับอารมณ์ในขณะนั้นๆเลย กล่าวคือ เกิดธรรมสามัคคีมีความเข้าใจหรือแจ่มแจ้งในเรื่องนั้นๆหรืออาจเป็นมรรคสมังคีขึ้ึ้นมาทันที ดังเช่น เมื่อเกิดการผัสสะใดๆอาจเกิดภูมิรู้ภูมิญาณขึ้น อ๋อ มันเป็นเช่นนี้เอง อย่างแจ่มแจ้งขึ้นมาก็ได้ ซึ่งก็เกิดจากการสั่งสมเดิมนั่นเอง. การมีสติระลึกรู้ไม่ว่าแบบใดก็ตาม มีจุดประสงค์อยู่เพียงเป็นเครื่องรู้เพื่อการดำรงคงชีวิต ตลอดจนเครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดสติและปัญญา เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา เพื่อการปล่อยวาง กล่าวคือเพื่อการไม่ไปยึดมั่นถือมั่น หรืออุเบกขานั่นเอง ตลอดจนเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดีงามยิ่ง จนเป็นมหาสติ จิตย่อมไม่ส่งออกนอกไปปรุงแต่งหรือไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกกาย เวทนา จิต ธรรม ให้เกิดการผัสสะ จนเกิดเวทนา ตัณหา อุปาทาน ...จนเป็นทุกข์อุปาทานขึ้น กล่าวคือ ทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันตามปกติ แล้วหมั่นมีสติระลึกรู้ในธรรมทั้ง ๔ กล่าวคือ เมื่อเกิดการกระทบผัสสะกับอารมณ์ใดๆ แล้วมีสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมใดก็ตามที ที่บังเกิดขึ้นแก่ตน เช่น จิตอาจรู้เท่าทันเวทนา หรือจิตอาจรู้เท่าทันจิตสังขาร(จิตฟุ้งซ่าน,จิตคิดปรุงแต่ง,จิตหดหู่,จิตมีราคะ,จิตมีโทสะ ฯ.) หรือจิตอาจรู้เท่าทันธรรมว่าไม่เที่ยง ฯ. หรือเห็นธรรมว่า สักแต่ว่าธาตุ ๔ สักแต่ว่าเวทนา หรือจิต ฯ. แล้วอุเบกขา อาการดังตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นอาการของการปฏิบัติธรรมและสติปัฏฐาน ๔ ในชีวิตประจำวันที่ดีงามยิ่ง เป็นไปเพื่อมหาสติ เห็นคนแก่เดินผ่านกระทบตา สติก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม คือ สติระลึกรู้ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือเท่าทันธรรม หรือสติอยู่ในธรรม นั่นเอง(ธรรมานุปัสสนา) เห็นของสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรมว่า คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรม หรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา) เห็นเพศตรงข้ามสวยงามกระทบตา ก็อาจระลึกรู้เท่าทันกายว่า สักแต่ธาตุ ๔ หรือล้วนปฏิกูล หรือล้วนเน่าเปื่อยเป็นอสุภเหมือนกันล้วนสิ้น นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในกาย หรือมีสติอยู่ในกาย นั่นเอง (กายานุปัสสนา) ตากระทบรูปเช่นคนที่เกลียดชัง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันทุกขเวทนามีอามิสที่เกิดขึ้น คือ ความไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง (เวทนานุปัสสนา) ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันสุขเวทนา แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันแม้เพียงอทุกขมสุขเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา ยิ่งต้องรู้เท่าทัน ไม่ประมาท ระมัดระวังไม่ปรุงแต่งหรืออุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในเวทนา หรือมีสติอยู่ในเวทนา นั่นเอง ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันจิตสังขาร(เช่นจิตคิด,จิตฟุ้งซ่าน,จิตหดหู่,จิตมีโทสะ)ก็ได้ แล้วอุเบกขา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในชีวิตประจำวันชนิดมี สติระลึกรู้ในจิต หรือมีสติอยู่ในจิต หรือจิตเห็นจิตสังขาร หรือจิตเห็นจิต นั่นเอง (จิตตานุปัสสนา) ธรรมารมณ์เช่นคิดกระทบใจ ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ขันธ์ ๕ ว่าเป็นสภาวธรรมของการกระทบกันของขันธ์ ย่อมพึงบังเกิดขึ้นเป็นธรรมดา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา) เมื่อฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ก็อาจระลึกรู้เท่าทันธรรม เช่น ปฏิจจสมุปบาท ว่าย่อมอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์จากตัณหา นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้เท่าทันธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน (ธรรมานุปัสสนา) เมื่อมีเวลาว่างจากกิจหรือหน้าที่อันพึงกระทำแล้ว ก็พิจารณาธรรม(ธัมมวิจยะ,โยนิโสมนสิการ) นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งชนิดมี สติระลึกรู้ในธรรมหรือสติอยู่ในธรรม เช่นกัน และยังก่อให้เกิดการสั่งสมทางปัญญาอันยิ่งอีกด้วย และเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่งอีกทางหนึ่งโดยไม่รู้ตัว กล่าวคือ จิตย่อมไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ไปแสวงหาอารมณ์ต่างๆให้เกิดการผัสสะให้เกิดทุกข์อีกด้วย เมื่ออยู่ในกิจ หรือเมื่อว่างจากกิจหรือหน้าที่ อันพึงกระทำแล้ว ก็เจริญกายานุปัสนาในอิริยาบถและสัมปชัญญะ กล่าวคือ มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถพร้อมทั้งสัมปชัญญะ ย่อมละความดำริพล่านหรือฟุ้งซ่าน ที่หมายถึงมีสติที่ทั้งเนื่องสัมพันธ์กับสิ่งอื่นๆด้วย จึงมิใช่การจดจ่อหรือมีสติกับสิ่งๆเดียวจนขาดสติการรับรู้ในสิ่งอื่นๆด้วย กล่าวคือ ไม่ใช่การมีจิตจดจ่อจนแน่วแน่เป็นสมถสมาธิ นี้ก็คือการปฏิบัติที่ดีงามยิ่งในกิจที่กระทำหรือเมื่อมีเวลาว่าง ชนิด มีสติระลึกรู้ในกายหรือสติอยู่ในกาย เช่นกัน และยังเป็นการสั่งสมสติให้เป็นมหาสติ รวมทั้งเป็นเครื่องอยู่ของจิตอันดียิ่ง คือย่อมมีสติอยู่ในกิจที่กระทำจึงย่อมมีประสิทธิภาพ ส่วนการปฏิบัติเมื่อว่างจากกิจ ก็กลายเป็นการฝึกสติและเป็นเครื่องอยู่ของจิตที่ทำให้จิตไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอกไปผัสสะกับอารมณ์ต่างๆนั่นเอง อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นการปฏิบัติธรรมในลักษณาการของสติเห็นกาย เวทนา จิต ธรรมในชีวิตประจำวันที่ยังประโยชน์ยิ่ง ทั้งเป็นการสั่งสมที่ถูกต้องดีงามให้เป็นมหาสติ ยังให้เกิดการสั่งสมทั้งทางสติและปัญญาทุกขณะจิตที่ปฏิบัติ อันเป็นไปโดยไม่รู้ตัวได้อีกด้วย เพียงแต่อาจมีความแตกต่างกันบ้างในการรู้เท่าทันหรือเข้าใจในสิ่งต่างๆตามสติ จริต ปัญญา การปฏิบัติสั่งสม ผู้ฝึกสอน ฯ อันเป็นเรื่องปกติธรรมดา อนึ่ง โปรดระวังอย่าไปสับสนกับจิตส่งในไปในกายหรือในจิต เพื่อไปเสพความสุขความสงบความสบายอันเนื่องมาจากผลของฌานสมาธิ จะโดยทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวด้วยอวิชชาก็ดี ล้วนยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสหรือให้ผลร้ายในภายหลังทั้งต่อรูปและนาม(กายและจิต) จิตเห็นกาย เวทนา จิต ธรรม บางทีก็ใช้คำว่า จิตหรือสติอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม, จิตอยู่ในกายและจิต, จิตอยู่กับรูปและนาม จึงล้วนหมายถึง จิตอยู่ในเรื่องของการระลึกรู้เท่าทันบ้างหรือพิจารณาธรรมบ้างในเหล่ากาย เวทนา จิต ธรรม จึงไม่ใช่หมายถึงการส่งจิตไปจดจ้องจดจ่อกายหรือจิตแต่อย่างใด จึงไม่ใช่หมายความว่าจิตส่งในไปในกายหรือจิตที่มีเหตุมาแต่การติดเพลินหรือเพลิดเพลิน(นันทิ)ไปในปีติ สุข สงบ สบายที่เกิดขึ้นแก่กายและจิตอันเกิดแต่อำนาจองค์ฌานและสมาธิที่มักเป็นไปโดยไม่รู้ตัวเนื่องด้วยอวิชชา การที่ให้อุเบกขาเมื่อมีสติรู้เท่าทัน(ที่หมายรวมถึงมีปัญญาหรือเข้าใจ)ใน กาย เวทนา จิต หรือธรรมเสียก่อน หมายความว่ามีสติพร้อมปัญญา เช่น เมื่อเกิดการผัสสะกับอารมณ์ใด แล้วให้เห็นเข้าใจว่าเกิดจากจิตคิดหรือธรรมารมณ์นั้นมากระทบใจแล้วเกิดทุกขเวทนาขึ้น ก็ให้อุเบกขาเสีย หรือไปอยู่กับธรรมคือพิจารณาตามธรรมตามเหตุ อย่าได้เอาตัวเองหรือเรื่องราวของตนเองหรือความรู้สึกของตัวตนไปพัวพันพิจารณา ถ้าไม่สามารถอยู่ในธรรมดังกล่าวได้ กล่าวคือมักไปพัวพันในอารมณ์ว่าเป็นตัวตนหรือของตัวของตน แทนที่จะพิจารณาตามธรรมตามเหตุหรือตามความเป็นจริงดังเช่น เกิดขึ้นแต่เหตุปัจจัยบ้าง หรือเกิดแต่ธรรมารมณ์กระทบจิตบ้าง สักแต่ว่าเวทนาเป็นธรรมดาบ้าง ฯลฯ. ก็ให้ค่อยนำมาพิจารณาในรายละเอียดภายหลังในขณะจิตสบายๆหรือขณะปฏิบัติพระกรรมฐานก็ได้ ก็เนื่องจากตัดเหตุเกิดหรือเหตุก่อเสียก่อน กล่าวคือ บางครั้งเป็นอาการมารยาของจิต หลอกล่อให้วนเวียนปรุงแต่งอยู่ในกองทุกข์โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง, ต่อมาภายหลังจึงค่อยย้อนระลึกชาติ(ในทางวิปัสสนาหรือปฏิจจสมุปบาท)หรือการย้อนระลึกอดีต(การไม่รู้อดีตเพื่อปัญญา เป็นหนึ่งในอวิชชา ๘) เพื่อการพิจารณาที่มีจุดประสงค์ให้เกิดปัญญา เพื่อโน้มน้อมให้เกิดนิพพิทา ต้องไม่ใช่เพื่อการพิรี้พิไร การพรํ่ารำพัน(รวมทั้งแก่กันและกัน) โอดครวญ หรือรำลึกให้เกิดสุข,ทุกข์ จึงควรปฏิบัติเมื่อผ่อนคลายแล้วกล่าวคือเมื่อมีสติตั้งมั่นนั่นเอง มิฉนั้นก็จะถูกดูดเข้าไปในวังวนของจิตคิดนึกปรุงแต่งหรือจิตฟุ้งซ่าน จนวนเวียนอยู่ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันเร่าร้อนเผาลน ข้อคิดควรคำนึง การปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังเช่น การมีสติเห็นจิตสังขาร ที่หมายถึง มีสติเห็นความคิด จึงไม่ใช่การไปหยุดคิดหยุดนึกให้สงบดังการปฏิบัติสมถสมาธิที่มีจุดประสงค์ให้จิตแน่วแน่หรือตั้งมั่น หรือการเข้าใจผิดไปยึดความว่าง ว่าเป็นการว่างจากความคิดความนึก เพราะความคิดความนึกต้องมีอยู่เป็นองค์ประกอบสำคัญยิ่งในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา ว่างนั้นจึงต้องเป็น ว่างจากเหล่ากิเลสตัณหาอุปาทาน กล่าวคือเมื่อคิดเมื่อนึกให้รู้เท่าทัน และรู้ตามจริง แล้วหยุดการปรุงแต่งสืบต่อไปหรืออุเบกขาในโพชฌงค์นั่นเอง สติที่ใช้ในการปฏิบัติ ก็ควรประกอบด้วยองค์ประกอบดังการเจริญอิทธิบาท ๔ เช่นกัน กล่าวคือ ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก กล่าวคือ ไม่ย่อหย่อน จนขาดสัมมาวายามะ ไม่ประคองเกินไป จนเป็นปัคคาหะหรืออุปัฏฐานะแต่ในวิปัสสนูปกิเลส ไม่หดหู่ไปภายใน ด้วยอาการจิตส่งใน ด้วยขาดสติ ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ด้วยอาการคิดนึกปรุงแต่ง --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- สติ ระลึกรู้เท่าทันระดับใด ที่ให้ผลอันยิ่ง กระดานธรรม ๓ คลิกขวาเมนู สติ ควรระลึกรู้เท่าทันระดับใดในการปฏิบัติ ที่ยังผลอันยิ่ง อุปมาดั่ง สติระลึกรู้เท่าทันว่า ๒ x ๒ = เท่าใด, สติระลึกรู้เท่าทันเวทนา หรือจิตตสังขาร แม้กาย, ธรรมก็ฉันนั้น อันจักให้ผลยิ่ง อนึ่งพึงระลึกรู้ว่า สติระลึกรู้เท่าทันดังนี้ว่า ๒ x ๒ = ๔, เป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง อันยังให้วิชชานั้นบริบูรณ์ในที่สุด อนึ่งสติระลึกรู้เท่าทันดังนี้ว่า ๒ x ๒ = ๖, เป็นสติที่ประกอบด้วยมิจฉาญาณ หรือเป็นอวิชชายังให้เกิดความเดือดร้อนในที่สุด การปฏิบัติให้ได้ผลบริบูรณ์นั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องใช้สติระลึกรู้อย่างเท่าทันในสิ่งที่ปัญญาไปเห็น เข้าใจ กล่าวคือเป็นมหาสติในกาย เวทนา จิต หรือธรรม, หรือเป็นมหาสติในปฏิจจสมุปบาทธรรม จึงเป็นสติดังในลักษณะที่จักอาราธนาธรรมคำสอนของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จากหนังสือ เทสรังสีอนุสรณาลัย เรื่อง "สิ้นโลก เหลือธรรม (นัยที่สอง)" (หน้า ๙๓) ที่ได้กล่าวถึงเรื่อง สติ ไว้ดังนี้ "จิต คือ ผู้คิดผู้นึกในอารมณ์ต่างๆ ที่รวมเรียกว่ากิเลสอันเป็นเหตุทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง จึงต้องฝึกหัดให้มีสติระวังควบคุมจิต ให้รู้เท่าทันจิต ซึ่งคำนี้เป็นโวหารของพระกรรมฐานโดยเฉพาะ คำว่า " รู้เท่า " คือ สติรู้จิตอยู่ ไม่ขาดไม่เกินยิ่งหย่อนกว่ากัน สติกับจิตเท่าๆกันนั่นเอง คำว่า " รู้ทัน " คือ สติทันจิตว่าคิดอะไร พอจิตคิดนึก สติก็รู้สึกทันที เรียกว่า " รู้ทัน " แต่ถ้าจิตคิดแล้วจึงรู้นี้เรียกว่า " รู้ตาม " อย่างนี้เรียกว่าไม่ทันจิต ถ้าทันจิตแล้ว พอจิตคิดนึก สติจะรู้ทันที ไม่ก่อนไม่หลัง ความคิดของจิตก็จะสงบทันที.......ฯ." คำว่า รู้เท่า รู้ทัน ตามที่ท่านหลวงปู่เทสก์กล่าวแสดงข้างต้นนั้น ต้องทำความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง ถ้ายังไม่แจ่มแจ้ง ก็ขอให้ลองพิจารณาย้อนระลึกรู้อดีตในปัจจุบันชาติ แต่ในสมัยอยู่อนุบาลหรือประถมต้นๆ ที่เมื่อคุณครูสอนเลข เรื่องการบวก ลบ คูณ หารใหม่ๆ แล้วเมื่อถูกคุณครูหรือคุณพ่อคุณแม่ถามว่า ๒ x ๒ เท่ากับเท่าใด? อาการที่ลังเลบ้าง คิดนึกเสียนานบ้าง คิดนึกไม่ออกบ้าง ตอบผิดบ้าง ตอบถูกอย่างไม่แน่ใจบ้าง อาการลังเลไม่แน่ใจบ้างนั่นแหละเป็นเหมือนอาการที่หลวงปู่เทสก์กล่าวไว้ว่า เป็นอาการของการรู้ตาม ส่วนอาการในปัจจุบันชาติ ที่เมื่อมีใครถามว่า ๒ x ๒ เท่ากับเท่าใด? แล้วสามารถตอบได้ทันที โดยอัติโนมัติ ทำได้เองราวกับตั้งใจแต่ไม่ได้ตั้งใจ ก็สืบเนื่องมาจากการฝึกฝนอบรมและสั่งสมมาอย่างดีงามมาแต่อดีตยิ่งว่า = ๔ นั่นแหละอาการรู้ทัน, รู้เท่าทัน, รู้เท่าทันจิต หรือก็คืออาการมหาสตินั่นเอง เพียงแต่ว่าการรู้เท่าทัน ๒ x ๒ เยี่ยงนี้นั้น ไม่จัดเป็นมหาสติในทางธรรมหรือโลกุตระ เหตุก็เพราะเป็นการระลึกรู้เท่าทันอย่างโลกๆหรือโลกิยะ ที่เป็นไปเพื่อยังประโยชน์แก่ขันธ์หรือชีวิตในปัจจุบันชาติเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อการดับไปของทุกข์ ที่เป็นไปเพื่อการดับภพชาติอย่างโลกุตระ ที่ควรระลึกรู้อยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม เหมือนดั่งการระลึกรู้ในสูตรคูณแม่ต่างๆอย่างเชี่ยวชาญชำนาญยิ่ง, ที่แม้อาจไม่คล่องแคล่วในบางสูตรคูณที่ไม่จำเป็นบางประการบ้าง อุปมาดั่งวิชชาทางโลกบางประการ ที่ชำนาญบ้างไม่ชำนาญบ้างเป็นธรรมดา สติ ระลึกรู้เท่าทันเยี่ยงดังนี้นี่เอง จึงเป็นเหมือนดังที่ท่านหลวงปู่เทสก์ เทสรังสีได้กล่าวแสดงดังข้างต้น คือ อาการของ สติที่ "รู้เท่า" "รู้ทัน" ที่จักบังเกิดผลอันยิ่ง กล่าวคือ รู้เท่าทันสังขาร(ในแง่หรือมุมมองแบบปฏิจจสมุปบาท)ที่เกิดขึ้นจากอวิชชาร่วมกับความทรงจำ(สัญญาที่เจือกิเลสหรือก็คืออาสวะกิเลสนั่นเอง) หรือรู้เท่าทันเวทนา หรือจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจร, ส่วนในทางสติปัฏฐาน ๔ ก็คือรู้เท่าทันใน กาย เวทนา จิต ธรรม, ทั้ง ๒ ต่างล้วนดีงามยิ่ง จึงรู้เท่าทันแบบใด จึงขึ้นอยู่กับจริต สติ ปัญญา แนวทางปฏิบัติของตนที่สั่งสมอบรม เป็นสำคัญ แต่ล้วนยังให้เกิดผลอันยิ่ง ในสติปัฏฐาน ๔ ที่ให้รู้ทันเวทนาหรือจิต(จิตสังขาร)ในขณะเกิดบ้าง แปรปรวนบ้าง ดับไปแล้วบ้าง กล่าวคือ อาจรู้ทันบ้าง อาจรู้ตามบ้าง อาจระลึกรู้ภายหลังบ้าง หรือรู้ธรรมของจิตบ้าง(เช่นเกิดแต่เหตุปัจจัยใด) เพราะล้วนเป็นการฝึกฝนปฏิบัติให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์อยู่ อันย่อมมิสามารถรู้เท่าทันเป็นมหาสติได้เป็นธรรมดาในขั้นแรกย่อมเหมือนกับขณะเล่าเรียนในชั้นอนุบาลหรือประถมต้น จึงต้องรู้ทันบ้าง รู้ตามบ้าง ระลึกรู้เมื่อดับไปแล้วบ้าง ระลึกรู้เห็นในสภาวธรรมของการเกิด การแปรปรวน การดับไปเป็นธรรมดาบ้าง แต่ล้วนเป็นการฝึกสติ ทั้งสั่งสม อีกทั้งยังสั่งสมให้เกิดปัญญาเข้าใจในสภาวธรรมต่างๆ รวมทั้ง พระไตรลักษณ์ ฯลฯ. และเมื่อมีสติดังนี้อยู่เนืองๆเป็นอเนก ย่อมกลายเป็นมหาสติขึ้นในที่สุดนั่นเอง ส่วนในปฏิจจสมุปบาทนั้นก็เป็นไปเฉกเช่นเดียวกัน ที่ขั้นแรกนั้นปัญญาย่อมยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้งและยังทั้งไม่เท่าทันในสังขารอันเกิดแต่อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นธรรมดาในการปฏิบัติขั้นต้นๆ แต่ก็่เพื่อให้เกิดการสั่งสม จึงต้องรู้ทันเวทนา(องค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาท)บ้าง เวทนูปาทานขันธ์และสังขารูปาทานขันธ์ที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชราบ้าง ดังนั้นในระยะแรกปฏิบัติจึงย่อมเป็นการรู้เท่าทันบ้าง รู้ตามบ้าง รู้เมื่อเป็นสุขเป็นทุกข์ดับไปแล้วบ้าง เป็นธรรมดา จนในที่สุดแล้วสติที่ใช้ร่วมกับปัญญาที่ใช้ในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งอวิชชาที่ต้องปฏิบัติสั่งสมจนพัฒนาเป็นสติที่ต้อง "รู้เท่า" "รู้ทัน" สังขารกิเลสดังแสดงข้างต้นจึงเป็นที่สุดของการดับทุกข์ อันจักบังเกิดขึ้นจากการปฏิบัติด้วยความเพียรสั่งสมจนกล้าแข็ง แลเป็นมหาสตินั่นเอง อนึ่งการรู้เท่าทันสังขารกิเลสที่เกิดขึ้น ไม่ได้หมายถึงการปฏิบัติแบบหยุดคิดหยุดนึก หรือสติเป็นไปดังธรรมคำสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม" (น.๔๖๙) ".........ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- เป็นสัมมาสมาธิในการดับทุกข์อย่างแท้จริงคือจิตตั้งมั่นที่เป็นไปอย่างอย่างมหาสติ คือเกิดดับๆโดยอัติโนมัติ)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ" สติรู้เท่าทันในกายนั้น เป็นไปเพื่อจุดประสงค์ คือละความดำริพล่าน จิตจึงตั้งมั่น และเพื่อให้เกิดปัญญาคือนิพพิทาญาณในสังขารกายที่พิจารณา อนึ่งพึงเข้าใจด้วยว่า อาการที่จิตส่งในไปในกายนั้น ไม่ใช่อาการของสติรู้เท่าทันในกายในสติปัฏฐานแต่อย่างใด แต่เป็นอาการของการติดเพลินในสมาธิหรือฌาน อันให้โทษแก่ผู้ปฏิบัติในที่สุดเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งก็คือสุขในวิปัสสนูปกิเลส เรียกกันง่ายๆทั่วไปว่าติดสุขนั่นเอง สติรู้เท่าทันในธรรม ก็ด้วยจุดประสงค์ คือ เมื่อจิตอยู่กับการพิจารณาธรรม จิตย่อมละความดำริพล่าน จิตจึงตั้งมั่น และเพื่อให้เกิดปัญญาญาณจากธรรมต่างๆที่พิจารณาหรือรู้เท่าทันในขณะจิตนั้นๆ ส่วนการมีสติรู้เท่าทันเวทนาและจิต หรือเรียกรวมกันสั้นๆทั่วไปกันว่า สติเท่าทันจิต นั้นก็เพื่อละดำริพล่าน และใช้ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน พร้อมการอุเบกขาอยู่เนืองๆเป็นอเนก จึงยังให้เกิดทั้งปัญญาญาณและเป็นมหาสติขึ้นในที่สุด สติ ระลึกรู้เท่าทันระดับใดที่ยังผลอันยิ่ง อุปมาดั่ง สติระลึกรู้เท่าทันว่า ๒ x ๒ = เท่าใด, สติระลึกรู้เท่าทันก็ฉันนั้น อันจักให้ผลยิ่ง อนึ่งพึงระลึกรู้ว่า สติระลึกรู้เท่าทันดังนี้ ๒ x ๒ = ๔, เป็นสติที่ประกอบด้วยปัญญาอันยิ่ง อันยังให้ผลบริบูรณ์ต่อขันธ์หรือชีวิตในที่สุด สติระลึกรู้เท่าทันดังนี้ ๒ x ๒ = ๖, เป็นสติที่ประกอบด้วยมิจฉาญาณ อันยังให้เกิดความเดือดร้อนต่อขันธ์หรือชีวิตในที่สุด ดังนั้นคงจะพอเห็นได้แล้วว่าความเร็วของสติในระดับใดที่ยังให้ผลอันยิ่ง สตินี้จึงมีองค์ประกอบในการปฏิบัติ เช่นเดียวกับการเจริญอิทธิบาท ๔ อีกด้วย กล่าวคือ ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- การฝึกหัดจิตให้มีสติทุกเมื่อ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย วันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๔ จากหนังสือ เทสกานุสรณ์ หน้า ๑๗๑ วันนี้จะเทศนาเรื่อง การฝึกหัดจิต จิตของคนเราต้องฝึกหัด เช่นเดียวกับสัตว์ที่อยู่ในป่าที่เขาจับมาใช้ จะใช้งานได้ต้องฝึกต้องหัดเสียก่อน จิตของเรายังไม่ได้ฝึกหัดก็เหมือนกับสัตว์ที่อยู่ในป่านั่นแหละ เราจับจิตมาฝึกหัด คือ เราตั้งใจฝึกหัดจริงๆ จึงจะเรียกว่าเราฝึกหัดจิต การฝึกหัดสัตว์ป่า เช่น ช้าง เป็นต้น พอจับได้มาเขาก็ผูกมันไว้กับต้นเสา ตอนแรกมันก็แข็งแรงอยู่จะต่อสู้ดิ้นรนมาก เขาจึงไม่ให้กินหญ้ากินนํ้า หรือให้แต่เพียงเล็กน้อยพอไม่ให้ตาย จนซูบซีดผอมลงไป ทีนี้ก็เริ่มหัดมัน หัดจนกระทั่งมันยอมคนขึ้นขี่คอได้ หัดให้อยู่ในอำนาจของเราทุกอย่างได้ เมื่อมันอยู่ในอำนาจของเราเรียบร้อยดีแล้ว เราจึงให้อาหารมันกินอย่างอุดมสมบูรณ์ การฝึกหัดจิตก็คล้ายๆกันนั่นแหละ แต่ไม่ต้องถึงอย่างนั้น เพราะสัตว์เป็นของภายนอกมีตัวตน ต้องฝึกหัดด้วยการทรมาน การฝึกหัดจิตต้องหัดด้วยอุบายวิธี จิตเป็นของไม่มีตัว จะขับขี่ก็ไม่ได้ จะตีก็ไม่ได้ แต่ทำให้มันอยู่ในอำนาจของตนนั้นได้ แต่ก็ยากแสนยากที่มันจะอยู่ในบังคับของเรา ต้องฝึกฝนอบรม ที่ว่าคล้ายกัน คือ ให้อดอาหารหรือฉันอาหารเพียงเล็กน้อย เพื่อให้มันมักน้อยที่สุด เป็นการฝึกหัดอบรมกาย แต่มันเนื่องถึงจิต เหมือนอย่างพระพุทธเจ้า พระองค์ไม่เสวยพระกระยาหาร แต่ไม่สำเร็จมรรคผลนิพพาน พระองค์จึงค่อยผ่อนเสวยพระกระยาหารทีละน้อยๆ จนกระทั่งพอดีพองาม ฉันพอสมควรไม่ฉันฟุ่มเฟือย พอให้กายอยู่ได้ไปวันๆหนึ่ง อาหารนั้นถ้าฉันมากจิตใจมันทื่อ มันกำเริบเฟิบฟาย มันไม่อยู่ในอำนาจของตน ผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรม รับประทานอย่างอิ่มหนำสำราญก็ให้มันรับประทานเรื่อยไป แต่สำหรับคนที่ฝึกหัดอบรมใจนั้นจะฉันน้อยพอประมาณพอบำรุงร่างกาย เพื่อยังชีวิตให้เป็นไปในวันหนึ่งๆเท่านั้น แล้วก็ไม่สะสม การสะสมเป็นเรื่องของกิเลส ลองคิดดู ถ้าสะสมแล้วมันเป็นการพะวักพะวน ท่านจึงไม่ให้สะสม นี่พูดเฉพาะเรื่องของพระภิกษุ คือ ฉันแล้วก็ทิ้งไป ให้มันหมดเรื่องหมดราว วันหลังหาใหม่ ได้เท่าไรก็ฉันเท่านั้น ฉันเท่าที่มีอยู่ ถึงฆราวาสก็ดี ผู้ฝึกหัดจิตต้องฝึกฝนอบรมอย่างนั้น คือรับประทานมื้อเดียว ไม่ให้เกี่ยวข้องพัวพันในเรื่องอื่นๆ เอาปัจจุบัน แม้ว่าจะต้องเกี่ยวข้องพัวพันบ้างก็ตาม หากลงปัจจุบันในขณะนั้นก็ไม่มีอะไร เอาปัจจุบันเท่านั้น ไม่คิดอดีต อนาคต มันถึงจะเป็นไปได้ การฝึกฝนอบรมใจมันต้องไปจากกายนี้เหมือนกัน (webmaster - กล่าวคือ กายที่สมบูรณ์จากการกินเกินพอดี นอกจากทำให้มิทธะง่วงเหงาซึมเซาแล้ว ย่อมยังทำให้เกิดความกำหนัดคือราคะอีกด้วย หรือโผฏฐัพพะแต่ภายในเอง เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เนื่องหรือกระตุ้นจิตให้เกิดตัณหาขึ้น พึงเข้าใจว่า อดอาหารก็ด้วยสิ่งนี้เป็นเหตุ มิได้ด้วยเจตนาจะทรมานตนแต่ประการใด แต่เป็นไปเพื่อการลดละความซึมเซา ตัณหาและราคะโดยตรง) นอกจากอบรมทางกายแล้ว ยังต้องอบรมวาจาด้วย พูดให้น้อย พูดด้วยความสำรวมระวัง การที่ว่าสำรวมในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไม่ให้พูด พูดได้แต่หากว่าให้มีสติควบคุมอยู่ พูดก็รู้เรื่องว่าพูดอยู่ พูดดีชั่ว หยาบละเอียด จะพูดสักเท่าไรก็ตามแต่รู้เท่ารู้ทันอยู่ทุกขณะ เรียกว่าสำรวมวาจา จะพูดอะไรก็พูดเถอะ การทำอะไรก็ทำเถอะ แต่รู้เรื่องอยู่ทุกขณะ สติควบคุมอยู่อย่างนี้ เรียกว่า มีสติระวังกายวาจา (webmaster - กล่าวคือ เหมือนกันทั้งกาย วาจา ใจ จึงไม่ใช่การไปหยุดการกระทำทางกาย วาจา ใจ แต่เป็นเมื่อกระทำทางกาย วาจา ใจ แล้วให้มีสติควบคุมอยู่ จึงไม่ใช่การปฏิบัติในลักษณะหยุดกระทำ หยุดพูด หยุดคิดเสียดื้อๆ) ส่วนการสำรวมระวังใจ ถ้าอยู่เฉยๆ ใจไม่มีเครื่องอยู่ ให้เอาคำบริกรรมอันใดอันหนึ่งมาเป็นเครื่องอยู่มาเป็นหลักผูกใจ เช่น พุทโธ อานาปานสติ ตามลมหายใจเข้าออก ยุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหังก็ได้ เอาอันนั้นมาเป็นเครื่องอยู่เสียก่อน นึกคิดอยู่เสมอๆจนเป็นอารมณ์ มีสติควบคุมจิตอยู่ตรงนั้นแหละ จิตอยู่ที่ใดให้เอาสติไปตั้งตรงไว้ในที่นั่น จึงจะเรียกว่าควบคุมจิต รักษาจิต ที่จะห้ามไม่ให้คิดไม่ให้นึกนั้น ห้ามไม่ได้เด็ดขาด ธรรมดาของจิตมันต้องมีคิดมีนึก แต่หากมีสติควบคุมจิตอยู่เสมอ คิดนึกอะไรก็รู้ตัวอยู่ทุกขณะ เรียกว่า บริกรรมภาวนา การบริกรรมภาวนานี้มิใช่ของเลว คนบางคนเข้าใจว่าเป็นของเลว เป็นเบื้องต้น ที่จริงไม่ใช่เบื้องต้น ธรรมไม่มีเบื้องตน ท่ามกลาง ที่สุดหรอก ธรรมะอันเดียวกันนั่นแหละ ถ้าหากสติอ่อนเมื่อไรก็เป็นเบื้องต้นเมื่อนั้น สติแก่กล้าเมื่อไรก็เป็นท่ามกลางและที่สุดเมื่อนั้น คือหมายความว่าสติคุมจิตอยู่ทุกขณะ จนกระทั่งเป็นมหาสติปัฏฐาน จะยืน เดิน นั่ง นอน ในอิริยาบถใดๆทั้งหมด มีสติรอบตัวอยู่เสมอโดยที่ไม่ได้ตั้งใจให้มีสติ แต่มันเป็นของมันเอง สติควบคุมจิตไปในตัว เมื่อมีสติเช่นนั้นมันก็ไม่เกี่ยวข้องพัวพันกันกับสิ่งต่างๆ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง ลิ้นลิ้มรสต่างๆ กายได้สัมผัส มันก็เป็นสักแต่ว่า สัมผัสแล้วก็หายไปๆ ไม่ได้เอามาเป็นอารมณ์ ไม่เอามาคำนึงถึงใจ อันนั้นเป็น มหาสติ แท้ทีเดียว (webmaster - ถ้าบริกรรมอย่างมีสติ หมายถึงไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลไปลงภวังค์ กล่าวคือไม่ลงลึกไปในฌานหรือสมาธิอันละเอียดจนเคลิบเคลิ้มท่องเที่ยวไปในภวังค์หรือเพลิดเพลินไปในนิมิต ก็จักเกิดประโยชน์อย่างมาก จะทำให้เห็นจิตคือคำบริกรรมนั้นๆ อันย่อมเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่ง จึงเป็นการฝึกให้เห็นจิตหรือจิตสังขารอย่างหนึ่งหรือจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่งอย่างดียิ่ง ที่เมื่อสั่งสมอย่างถูกต้องดีงามแล้วก็จะเกิดอาการเห็น จิตมีโทสะ จิตมีราคะ จิตฟุ้งซ่าน จิตหดหู่ ฯ. ตลอดจนยังเป็นวิหารธรรมหรือเครื่องอยู่ของจิต จิตจึงไม่ส่งออกไปปรุงแต่งฟุ้งซ่าน) ถ้าจิตอ่อนเมื่อไร จิตจะส่งไปตามอายตนะทั้ง ๖ เมื่อนั้น เช่น ตาได้เห็นรูปอะไร หูได้ยินเสียงอะไร มันก็จะพุ่งไปตามรูปที่เห็น เสียงที่ได้ยินนั้นแหละ เมื่อเป็นเช่นนั้นก็ต้องเอาบริกรรมมาใช้อีก ให้จิตมันอยู่กับบริกรรมนั้นอีก บริกรรม คือ สัมมาอรหัง พุทโธ อานาปานสติ อะไรต่างๆก็ตาม ที่ท่านสอนแต่ละสำนักนั้น มันเป็นไปตามความชำนาญของแต่ละท่าน มันเป็นนโยบายของท่านต่างหาก แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ ใครจะเลือกภาวนาบริกรรม อันใดก็ได้ ความต้องการคือ มุ่งหมายเอาสติอย่างเดียว เพื่อตั้งสติให้มั่นคง จึงว่าคำบริกรรมเป็นคู่กับการฝึกหัดจิต คำบริกรรมเปรียบเหมือนกับเครื่องล่อจิต เหมือนกับเด็กเล็กๆที่มันร้องไห้ เราเอาขนมมาล่อให้มันกิน มันก็หยุดร้อง จิตของเราก็ยังเป็นเด็กอยู่เหมือนกัน คือว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ยังรักษาตัวเองไม่ได้ ยังต้องอาศัยคำบริกรรมอยู่ จึงเรียกว่าเป็นเด็ก คนเฒ่าคนแก่กระทั่งผมหงอกผมขาวก็ตาม ถ้ายังควบคุมจิตของตนไม่ได้ก็ยังเป็นเด็กอยู่นั่นแหละ ถ้าหากควบคุมจิตได้แล้ว แม้จะเป็นเด็กก็ตามนับเป็นผู้ใหญ่ได้ ในพุทธศาสนา ผู้บวชตั้งร้อยพรรษา โดยธรรมแล้ว ถ้าควบคุมจิตไม่ได้ก็เรียกว่ายังเป็นเด็กอยู่ องค์ใดบวชในพรรษานั้นแต่ว่าควบคุมจิตได้ ก็เรียกว่าเป็นเถระ การรักษาจิตควบคุมจิตจึงต้องมีเครื่องอยู่ ได้แก่ การบริกรรม จิตเป็นของสูงๆตํ่าๆ คือ ฝึกหัดไม่สมํ่าเสมอ สูงหมายถึงว่าเจริญขึ้นไป คือ มีสติควบคุมอยู่ ขณะที่มีสติควบคุมอยู่ก็กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ต่อสู้กับอารมณ์ได้ อะไรมาก็ไม่กลัว พอสัมผัสมากระทบเข้าจริงๆจังๆ อ่อนปวกลงไปเลย นั่นมันตํ่าลงไปแล้ว มันไม่เป็นผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงต้องหัดสติตัวนี้ให้แก่กล้า ให้แข็งแรงที่สุด ในพุทธศาสนานี้มีการฝึกหัดสติอันเดียว การฝึกหัดเรื่องอะไรก็ตาม ฝึกหัดสติอันเดียวเท่านั้น พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนสาวกทั้งหลายแต่ก่อนนี้ ก็ทรงสอนให้ฝึกสติอันเดียวเท่านั้น ทรงสอนฆราวาสก็เหมือนกัน ทรงสอนเรื่องสติ ให้มนุษย์คนเราพากันมีสติ พวกเราก็พากันถือคำสอนของพระองค์นั่นแหละมาพูด เช่น พอพลั้งๆเผลอๆ ก็ว่า ไม่มีสตินี่ ก็พูดกันไปอย่างนั้นแหละ ตัวผู้พูดเองก็ไม่รู้เรื่องว่าตัวสติมันเป็นอย่างไร พูดไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ มิหนำซํ้าบางคนไม่มีสติอยู่แล้ว ยิ่งไปดื่มสุรายาเมาเข้า ยิ่งไปใหญ่จนเสียสติเป็นบ้าไปก็มี เหตุนี้จึงว่า คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมดมาลงที่สติอันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ท่ามกลาง ที่สุดก็สอนสติ เป็นศาสนาที่สอนถึงที่สุด แต่คนทำนั่น ทำสติไม่ถึงที่สุดสักที ทำมากี่ปีกี่ชาติก็ไม่สมบูรณ์สักที พระพุทธเจ้าพระองค์ใดก็ทรงสอนสติตัวเดียวนี้ เราเกิดมากี่ภพกี่ชาติก็มาหัดสติตัวเดียวนี้ แต่ก็หัดสติไม่สมบูรณ์สักที เหตุนั้นจึงควรที่พวกเราจะพากันรีบเร่งหัดสติทุกคนแต่บัดนี้ อายุอานามมาถึงป่านนี้แล้ว เรียกว่าจวนเต็มที จวนจะหมดสิ้น จวนจะตายอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าจะตายวันไหน ควรที่จะหัดสติให้อยู่ในเงื้อมมือของตนให้ได้ อย่าให้จิตไปอยู่ในเงื้อมมือของความหลงมัวเมา ผู้ใดจิตไม่อยู่ในอำนาจของตนก็ชื่อว่าเราเกิดมาแล้วเสียเปล่า ได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียเปล่า เปล่าจากประโยชน์ อย่าให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ ถ้าจิตอยู่ใต้อำนาจของกิเลสแล้วหมดท่า ตัวของเราจึงเป็นทาสของกิเลส เหตุนั้นจึงควรที่จะพากันรู้สึกตัว ตื่นตัวเสียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป แล้วฝึกอบรมกัมมัฏฐาน การอบรมกัมมัฏฐานนั้น ทุกคนต้องอบรมเหมือนกันหมด มิใช่อบรมเฉพาะพระภิกษุ สามเณร แม่ชี อุบาสกอุบาสิกาเท่านั้น การฝึกหัดธรรมะก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ ถือพุทธศาสนาก็ต้องหัดสติตัวนี้แหละ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ก็เรียกว่าถึงศาสนา ถ้ายังไม่มีสติเสียเลยก็เรียกว่ายังไม่ถึงศาสนา เอาละ วันนี้เทศน์ให้ฟังเพียงเท่านี้ เอวํฯ

No comments: