Blog Master

My photo
Bangkok, Thailand ชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก This present life is so miniscule in scope and so small Lives of all kinds whether humans or animals do not exist only in the present existence, but they also have past and future ones. This short life means that the present existence is a bit brief and so miniscule. Life , of course, is subject to ageing . The present existence of each individual does not exceed one hundred years in terms of the average age. It is a very short period when compared with the past uncountable existences and those in the future. When the sages or learned persons utter that this present life is so unfocused , they are comparing it with past and future uncountable existences . Those people of incomplete understanding can not be delivered from suffering
.......................................................................................................................................BuddhistRhythm .....................................................................................................................................................................................เพลงระฆังธรรม.................. ...................................................................................................................คำร้อง / ทำนอง : พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ........................................................................................ขับร้อง : ชินกร ไกรลาศ .........................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. ปุถุชนที่ร้อนเร่า............................... ก็ยังคงเร่าคงร้อน................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงลอย................ เหมือนไล่ความทรามถ่อย .......................................................ที่คอยผลาญใจคนกร่อน................................................. วัดวาเหงาไป .............เพราะคนห่างไกลเหมือนตัดรอน........................................ เสียงสวดโหยโรยอ่อน..................................... หนุ่มสาวง่วงนอน ไม่อยากฟัง.......................................................... มี..แต่..คนแก่............................ตั้งใจแน่นิ่งสดับ ...................................................ซึ้งพระธรรมสงบระงับ ..........................................ดับเพลิงโลกีย์พ่ายพัง................................................................ สืบกาลต่อไป ...........................คิดแล้วหัวใจช่างเหงาจัง ............................หนุ่มๆสาวๆรุ่นหลัง ..................................จะมีใครฟังพระเทศน์กันเล่า ............................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา .........................สาธุชนเจ้าข้า................ได้ยินระฆังหรือเปล่า......................................................... ระฆังเสียงเย็น .............พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา .....................พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ...................เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ........เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์ ..................... .......

Thai Buddhist

"การทำบุญจะต้องใช้เงินกันมากๆ ยิ่งทำมากยิ่งได้บุญมาก ความเชื่อเช่นนี้นับว่าไกลจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าเป็นห่วง ในการทำบุญที่แท้ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น แม้ไม่ใช้เงินเลย ไม่มีเงินเลย ทุกคนก็มีสิทธิทำบุญหรือเข้าถึงบุญได้อย่างทัดเทียมกันและบุญสูงสุดก็คือบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อให้เกิด ปัญญา การทำบุญจึงต้องมาเชื่อมกับ ปัญญา เสมอ และเราจะเห็นได้จากมรรควิธี ในการทำบุญ ต่อไปนี้

มรรควิธีในการทำบุญ ๑๐

1. ทำบุญด้วยการ "แบ่งปัน" วัตถุ สิ่งของ ปัจจัยสี่

2. ทำบุญด้วยการ "รักษาศีล"

3. ทำบุญด้วยการ "เจริญจิตภาวนา"

4. ทำบุญด้วยการ "อ่อนน้อมถ่อมตน"

5. ทำบุญด้วยการ "เสียสละช่วยงานคนอื่น บริการสังคม"

6. ทำบุญด้วยการ "เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม"

7. ทำบุญด้วยการ "อนุโมทนา ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น"

8. ทำบุญด้วยการ "ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต"

9. ทำบุญด้วยการ "แสดงธรรม แจกจ่ายธรรมทาน วิทยาทาน"

10. ทำบุญด้วยการ "มีสัมมาทัศนะ เชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล"





Thursday, December 9, 2010

10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด‏ top ten of useful offering dedicated to Buddhist monks

ก่อนถวายสังฆทาน ครั้งต่อไป อ่านนี้ก่อน 10 อันดับของสังฆทาน ที่พระจะได้ประโยชน์มากที่สุด (สกู๊ปรายการจุดเปลี่ยน) รายการ 'จุดเปลี่ยน' เมื่อวันเสาร์ที่ 14 และ 21 มิถุนายน ที่ผ่านมา (ช่อง 9 เวลา 13.00 น.) ออกอากาศเรื่อง '10 อันดับของสังฆทาน ที่ทำแล้วพระท่านจะ ได้ประโยชน์มากที่สุด' อันเนื่องมาจากมีการสำรวจของในถังสังฆทานสำเร็จรูป (ถังเหลือง) ที่เห็นวางขายกันอยู่ทั่วไป พบว่า กว่า 50 % เป็นของที่ไม่มีคุณ ภาพ ใช้งานจริงไม่ได้ เช่น ผ้าจีวรสั้นและบางจนแทบจะเป็นผ้าซีทรู ใบชาเหม็นผงซักฟอกที่วางมาข้างๆ (กลายเป็นใบชารสโอโม่) กระดาษชำระหยาบและมีกลิ่นเหม็น แปรงสีฟันแข็งจนพระค่อนประเทศเป็นโรคเหงือกอักเสบ, สบู่ แชมพู ที่ถวายมีกลิ่นหอมแรง และผสมมอยซ์เจอร์ไรเซอร์ ทำให้พระผิดศีลต้องปลงอาบัติกันทุกวัน (มีศีลข้อหนึ่งห้ามการประทินผิวและใช้เครื่องหอม ไม่แน่ใจว่าศีลข้อที่ 6,7 หรือ 8 นี่แหละค่ะ) เครื่องชงดื่มมักหมดอายุ ถ่านไฟฉายหมดอายุ แบตเยิ้ม ฯลฯ หรือแม้แต่ตัวภาชนะที่ใส่ คือถัง ก็ยังทำจากพลาสติกคุณภาพต่ำ ใส่อะไรได้แป๊บเดียวก็ฉีก แตก พัง เป็นต้นค่ะ รายการจุดเปลี่ยนจึงได้ไปสอบถามพระสงฆ์จำนวนหนึ่ง แล้วจัดอันดับสิ่งของสังฆทาน ตามความจำเป็นในการใช้งาน รวม 10 อันดับ ซึ่งเรียงจากจำเป็น มากสุดไปน้อยที่สุดได้ ดังนี้
1. เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ เนื่องจากพระสมัยนี้ต้องเรียนพระปริยัติธรรม และจดกำหนดนัดหมายต่างๆ ช่วยจำ บางรูปท่านเป็นเหรัญญิกดูแลค่าใช้จ่าย ยิ่งต้องใช้มาก แต่ไม่ค่อยมีใครถวายเครื่องเขียนเหล่านี้ พระท่านจึงต้องไปเดินหาซื้อเองเสมอ หากเราถวายไป พระท่านจะได้ใช้อย่างแน่นอนค่ะ อันดับ 1 จึงตกเป็นของ 'เครื่องเขียน' ไปอย่างพลิกความคาดหมาย (หรือว่าคุณทายถูกล่ะ ? เอ้อ)

2. ใบมีดโกนตราขนนก (Feather) หรือยี่ห้อ Gillette ยิลเลตต์ เนื่องจากพระต้องโกนผมทุกวันโกน แต่ใบมีดยี่ห้ออื่น พระใช้โกนผมแล้วเลือดสาด !!! ท่านจึงใช้ได้แค่ 2 ยี่ห้อนี้เท่านั้น อนึ่ง ใบมีดตราขนนกจะคมกว่ายินเลส ใช้ในการโกนครั้งแรก ส่วนยิลเลตต์จะใช้เก็บความเรียบร้อยอีกครั้ง หากท่านใดถวายใบมีด ก็ได้ชื่อว่า ช่วยไม่ให้พระต้องเสียเลือดเนื้อทุกวันโกน ข้าพเจ้าเห็นว่าได้บุญดีกว่าให้ยาอีกนะท่าน


3. ผ้าไตรจีวร ที่มีความยาวพอที่จะนุ่งห่มได้ มีความหนาพอเหมาะสม เพราะผ้าที่ติดมากับถังเหลือง มันทั้งสั้น ทั้งเต่อ ทั้งบาง ทำให้พระท่านลำบากใจเวลาสวมใส่ ขาดความมั่นใจ และเสียภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ ผู้ใดถวายผ้าไตรจีวร จึงได้อานิสงส์มากนัก นี่ก็ใกล้จะถึงเทศกาลเข้าพรรษาแล้ว เตรียมผ้าอาบน้ำฝนไปถวายพระกันเถอะนะคะ


4. หนังสือธรรมะ สารคดี นิตยสาร หรือที่ให้ความรู้ด้านอื่นๆ เนื่องจากพระสงฆ์ มีหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ที่แตกฉาน ทั้งทางธรรม และรู้ทันข่าวสารบ้านเมือง เพื่อจะได้สาธิตยกตัวอย่างให้ชาวบ้านเข้าใจได้แจ่มแจ้ง การถวายหนังสือเหล่านี้ จึงถือเป็นต้นทุนแห่งธรรมทาน ให้พระท่านได้นำไปต่อยอด กระจายสู่ผู้คนได้อีกมาก ทั้งยังถือเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง แถมได้ผลตอบแทนสูง น่าลงทุนเป็นอย่างยิ่ง


5. รองเท้า (ยกเว้นพระนิกายธรรมยุตต์นะจ๊ะ สังเกตให้ดีล่ะว่าวัดที่เราไป พระท่านใส่รองเท้ากันหรือเปล่า) พระท่านต้องเดินบิณฑบาตร, ธุดงค์, ไปเรียนหนังสือ, ไปกิจนิมนต์ตามที่ต่างๆ, บางรูปต้องทำงานที่ใช้แรงงานในวัด เช่น ก่อสร้าง ทำสวน สิ่งที่ต้องรับภาระหนักก็คือ 'รองเท้า' ที่มักจะขาด เสียหาย อยู่บ่อยๆ นั่นเอง รองเท้าจึงถือเป็นอีก item หนึ่งที่มีความสำคัญอย่างสูง


6. ยาหลักๆ ที่จำเป็น ยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้ปวดหัว ปวดท้อง ยาแก้ไอ แก้ไข้ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาใส่แผลสด แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลพุพอง เป็นหนอง ผิวหนังอักเสบ เป็นหนอง

7. ผ้าขนหนูสีสุภาพ ไม่ต้องสีเหลืองก็ได้ เพราะผ้าขนหนูที่ติดมากับถังเหลืองมักหยาบ เล็ก และคุณภาพต่ำ จนเอามาใช้ไม่ได้ในชีวิตจริง

 8. ชุดคอมพิวเตอร์ อู้วววว ไฮโซไปนิดนึง แต่ถ้าใครรวบรวมเงินได้เป็นกอบเป็นกำอย่างกฐิน ผ้าป่า ก็น่าพิจารณาถวายคอมพิวเตอร์แด่วัดที่ขาดแคลน .. ถ้าเป็นวัดที่อินเตอร์เน็ตเข้าไม่ถึงจะดีมากๆ ค่ะ

9. น้ำยาเช็ดพื้น เหอ... งงไปเลย พระท่านจะเอาน้ำยาเช็ดพื้นไปทำอะไร ?? เฉลย ก็เอาไปผสมน้ำ ถูกุฏิ ศาลา อุโบสถ ไงจ๊ะ เพราะนอกจากจะช่วยผ่อนแรงในการทำความสะอาด สลายคราบแล้ว บางยี่ห้อยังช่วยฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในมูลนกพิราบ ฉี่หมา ฉี่แมว ฉี่หนู เห็บ หมัด ของหมาวัดได้อีกด้วย

10. แชมพู พระท่านไม่มีผมแล้วจะเอาแชมพูไปทำไมเนี่ย แถมยังฮอตฮิตติดท็อปเท็นของที่มีประโยชน์อีกด้วย แซงหน้าไมโล โอวัลติน ชาเขียว ขิงผง สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ทิชชู่ ฯลฯ ที่เห็นสลอนอยู่ในถังเหลืองซะด้วยซี คืองี้ เมื่อพระท่านไม่มีผมมาปกป้องหนังศีรษะเนี่ย ทั้งความร้อน ฝุ่นละออง เชื้อโรคต่างๆ ก็จะเข้าถึงหนังศีรษะของท่านได้โดยตรง แถมการรักษาสมดุลความชุ่มชื้นของหนังศีรษะก็จะเสียไป เพราะไม่มีผมปกคลุม ทำให้หนังศีรษะของพระ มักจะแห้ง และเกิดโรคผิวหนังอยู่เสมอ เช่น ชันตุ เป็นต้น สิ่งที่จะช่วยบรรเทาได้ก็คือ แชมพูยา ที่มีส่วนผสมปกป้องหนังศีรษะ รักษาสมดุล สังเกตง่ายๆ ที่ฉลากจะมีคำว่า 'Scalp' เป็นสำคัญ ยี่ห้อที่เป็นแบบนี้ก็มักจะเป็นพวก แชมพูขจัดรังแค อย่างคลินิค, แพนทีน, Head & Shoulder, ไนโซรัล เป็นต้น แต่น่าเศร้าใจ ที่ไม่มีใครถวายแชมพู พระท่านจึงจำต้องใช้สบู่แก้ขัด ซึ่งทำให้ยิ่งคันหัว ศีรษะแห้งไปกันใหญ่ ดังนั้นจึงขอท่านโปรดจำไว้ ว่าเราควรซื้อแชมพูไปถวายพระ แต่ก็เลือกสูตรกันนิดนึงนะคะ ให้เป็นสูตรดูแลหนังศีรษะ เพราะถ้าเกิดเราเลือกสูตร 'เพื่อผมนิ่มสลวยดำเงางาม' ไปถวายท่าน... ท่านอาจเข้าใจผิด คิดว่าเราแซวได้ค่ะ การทำสังฆทาน นอกจากจะถวายเป็นสิ่งของแล้ว

.
อีกทางเลือกหนึ่ง ที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุที่อาพาธค่ะ หวังว่าข้อมูลนี้คงจะเป็นประโยชน์ ทั้งกับท่านพุทธศาสนิกชนที่มีจิตกุศลต้องการทำสังฆทาน และกับพระภิกษุสามเณร ผู้รับสังฆทาน ที่เป็นเนื้อนาบุญของโลก และเป็นผู้ที่จะสืบทอดพระพุทธศาสนาของเราต่อไปค่ะ ถ้ามีโอกาส ขอความกรุณาส่งต่อ Forward ให้กับเพื่อนสนิท มิตรสหาย เพื่อช่วยกันลดพาณิชย์อุบาทว์ สังฆทานถังเหลืองด้อยคุณภาพ และเพื่อลดความสูญเสีย ที่คนไทยเสียไปให้กับสังฆทานสำเร็จรูป ซึ่งคิดเป็นเงินหลายสิบล้านบาทต่อปีค่ะ (ทางรายการบอกว่า ของในถังพระท่านต้องทิ้งไปเสียเกือบครึ่ง ลองคิดดูค่ะว่าเป็นเงินเท่าไหร่) สุดท้ายนี้ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านที่มีจิตเป็นกุศลนะคะ บุญรักษาค่ะ

No comments: