Blog Master

My photo
Bangkok, Thailand ชีวิตนี้น้อยนัก แต่สำคัญนัก This present life is so miniscule in scope and so small Lives of all kinds whether humans or animals do not exist only in the present existence, but they also have past and future ones. This short life means that the present existence is a bit brief and so miniscule. Life , of course, is subject to ageing . The present existence of each individual does not exceed one hundred years in terms of the average age. It is a very short period when compared with the past uncountable existences and those in the future. When the sages or learned persons utter that this present life is so unfocused , they are comparing it with past and future uncountable existences . Those people of incomplete understanding can not be delivered from suffering
.......................................................................................................................................BuddhistRhythm .....................................................................................................................................................................................เพลงระฆังธรรม.................. ...................................................................................................................คำร้อง / ทำนอง : พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ........................................................................................ขับร้อง : ชินกร ไกรลาศ .........................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. ปุถุชนที่ร้อนเร่า............................... ก็ยังคงเร่าคงร้อน................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงลอย................ เหมือนไล่ความทรามถ่อย .......................................................ที่คอยผลาญใจคนกร่อน................................................. วัดวาเหงาไป .............เพราะคนห่างไกลเหมือนตัดรอน........................................ เสียงสวดโหยโรยอ่อน..................................... หนุ่มสาวง่วงนอน ไม่อยากฟัง.......................................................... มี..แต่..คนแก่............................ตั้งใจแน่นิ่งสดับ ...................................................ซึ้งพระธรรมสงบระงับ ..........................................ดับเพลิงโลกีย์พ่ายพัง................................................................ สืบกาลต่อไป ...........................คิดแล้วหัวใจช่างเหงาจัง ............................หนุ่มๆสาวๆรุ่นหลัง ..................................จะมีใครฟังพระเทศน์กันเล่า ............................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา .........................สาธุชนเจ้าข้า................ได้ยินระฆังหรือเปล่า......................................................... ระฆังเสียงเย็น .............พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา .....................พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ...................เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์.......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................เหง่งหง่างระฆังวังเวงมา................................................. สาธุชนเจ้าข้า................................................ได้ยินระฆังหรือเปล่า ....................................................................ระฆังเสียงเย็น พระธรรมแผ่เห็นเป็นร่มเงา............................................................. พลิ้วแผ่วมาเบาๆ ........เสียงพระคุณเจ้าท่านสวดมนต์ ..................... .......

Thai Buddhist

"การทำบุญจะต้องใช้เงินกันมากๆ ยิ่งทำมากยิ่งได้บุญมาก ความเชื่อเช่นนี้นับว่าไกลจากพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าเป็นห่วง ในการทำบุญที่แท้ตามหลักพระพุทธศาสนานั้น แม้ไม่ใช้เงินเลย ไม่มีเงินเลย ทุกคนก็มีสิทธิทำบุญหรือเข้าถึงบุญได้อย่างทัดเทียมกันและบุญสูงสุดก็คือบำเพ็ญจิตภาวนาเพื่อให้เกิด ปัญญา การทำบุญจึงต้องมาเชื่อมกับ ปัญญา เสมอ และเราจะเห็นได้จากมรรควิธี ในการทำบุญ ต่อไปนี้

มรรควิธีในการทำบุญ ๑๐

1. ทำบุญด้วยการ "แบ่งปัน" วัตถุ สิ่งของ ปัจจัยสี่

2. ทำบุญด้วยการ "รักษาศีล"

3. ทำบุญด้วยการ "เจริญจิตภาวนา"

4. ทำบุญด้วยการ "อ่อนน้อมถ่อมตน"

5. ทำบุญด้วยการ "เสียสละช่วยงานคนอื่น บริการสังคม"

6. ทำบุญด้วยการ "เฉลี่ยความดีให้คนอื่นได้ชื่นชม"

7. ทำบุญด้วยการ "อนุโมทนา ชื่นชมความสุข ความก้าวหน้าของคนอื่น"

8. ทำบุญด้วยการ "ฟังธรรม ศึกษาหาความรู้ที่มีสารประโยชน์ต่อชีวิต"

9. ทำบุญด้วยการ "แสดงธรรม แจกจ่ายธรรมทาน วิทยาทาน"

10. ทำบุญด้วยการ "มีสัมมาทัศนะ เชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อตามหลักเหตุผล"





Monday, December 6, 2010

ภาพสวยๆ Beautiful pictures of BuddhistRhythm




พระพุทธชินราช หรือ หลวงพ่อใหญ่ ประดิษฐาน ณ พระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก พระพุทธรูปสำริด ปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย มีความกว้าง 5 ศอก 1 คืบ 5 นิ้ว ความสูง 7 ศอก
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ซึ่งได้สร้างพระพุทธชินราช พร้อมกับพระพุทธชินสีห์ และพระศรีศาสดา ฐานชุกชีปั๊มเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เดิมไม่ได้ลงรักปิดทอง ได้มีการปิดทองครั้งแรกในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ คราวเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการพระพุทธชินราช เมื่อปี พ.ศ. 2146 จัดเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามที่สุดในประเทศไทยองค์หนึ่ง ถึงขั้นที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำริให้ชลอมาประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม แต่ทรงรับฟังคำทูลขอร้องของชาวพิษณุโลก ที่ว่าพระพุทธชินราชองค์นี้ เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง จึงทรงตัดสินพระทัยหล่อ พระพุทธชินราช(จำลอง) ขึ้นมาแทน ลักษณะขององค์พระเส้นรอบนอกพระวรกายอ่อนช้อย พระขโนงโก่ง พระเนตรประดุจตากวาง พระนาสิกโด่ง ชายผ้าสังฆาฏิแยกเป็นเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน อยู่ในลักษณะปางมารวิชัย ด้านซ้ายและขวาขององค์พระ มียักษ์ 2 ตน คอยปกปักรักษาองค์พระอยู่ อีกทั้งยังมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรเป็นอัครสาวกอยู่ด้วย นอกจากนี้แล้วยังมีซุ้มเรือนแก้วที่คาดว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยาลักษณะเป็นรูปตัวเหรา ถือเป็นศิลปะที่สวยงามมากอย่าหนึ่ง พระพุทธชินราชประดิษฐานในวิหารลักษณะเก้าห้อง ซึ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ทำให้องค์พระสวยงามบริบูรณ์อย่างในปัจจุบัน และในประวัติศาสตร์ยังพบว่ากษัตริย์ในทุกๆสมัยของไทยให้ความเคารพและศรัทธาต่อองค์พระพุทธชินราชมาอย่างต่อเนื่อง ทุกๆพระองค์

No comments: